การศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการบริหารจัดการสำนักงานสีเขียว ของพนักงานวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (A Study of Participatory Behavior in the Green Office Management Project of Mahidol University International College Staff Members)

Main Article Content

สุชานันท์ ตาลเจริญธรรม (Suchanant Tanjaroentharn)

Abstract

                การวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการบริหารจัดการสำนักงานสีเขียวของพนักงานวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรการวิจัยได้แก่บุคลากรวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 107 ฉบับ  ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ใช้สถิตเชิงพรรณา ค่าเฉลี่ย สถิติอ้างอิงเพื่อการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน (ค่า Independent –Samples T Test) และสถิติอ้างอิงเพื่อการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัว ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Anova) ผลการวิจัยพบว่า พนักงานมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการสำนักงานสีเขียวด้านการใช้ผลประโยชน์อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} =3.67) ด้านการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} =3.49) ด้านการติดตามและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x} =3.16) ด้านการวางแผนอยู่ในระดับปานกลาง (  gif.latex?\bar{x}=2.71)  การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรพบว่า พนักงานที่มีเพศแตกต่างกันมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในด้านการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน พนักงานที่มีอายุแตกต่างกันมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการวางแผนแตกต่างกัน พนักงานที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ต่างกัน พนักงานที่มีสังกัดงานแตกต่างกันมีพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในด้านติดตามและประเมินผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05


              The objective of this study was to survey participatory behavior in the Green Office Management Project of Mahidol University International College staff members.  The research tools used for data collection in this study was a questionnaire that was completed by 107 staff members.  The responses were statistically analyzed to determine percentage, mean,             t-test and One-Way ANOVA values.  The results show that the staff members’ participation behavior in benefit utilization was at the high level (  =3.67). The staff members’ participation behavior in practices was at the high level (  =3.49). The staff members’ participation behavior in monitoring and evaluation was at average (  =3.16). The staff members’ participation behavior in planning was at average (  =2.71). The comparison of the staff members’ participation behavior in the Green Office Management Project reveals that gender differences of staff members have a significant effect on participation behavior in benefit utilization.  Age differences of staff members have a significant effect on participation behavior in planning.  Educational level differences of staff members have a significant effect on participation behavior in benefit utilization. Department differences of staff members have a significant effect on participation behavior in monitoring and evaluation. In conclusion, all are statistically significant at the 0.05 level.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts