ผลการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เกมปริศนาหลักภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Achievement of Thai Language Learning Management by Using Computer-assisted Instruction in Thai Language Riddles for Prathomsuksa 6 students)
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เกมปริศนาหลักภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น 3) เพื่อหาประสิทธิผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ) จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เกมปริศนาหลักภาษาไทย 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักภาษาไทย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิผล และค่า t-test for Independent
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 ค่าประสิทธิภาพของบทเรียนเท่ากับ 82.20/82.50 ค่าประสิทธิผลทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.08 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47
The purposes for this study were 1) to design and development of computer-assisted instruction (CAI) in Thai Language Riddles, 2) to evaluate the efficiency of the CAI, 3) to evaluate the effectiveness of learners, 4) to compare the learning achievement between the CAI group and the normal group, and 5) to determine the learners’ satisfaction towards the CAI. The samples were 60 students in Phathomsuksa 6 from Wat Lao School. The research tools composed of 1) the CAI, 2) the achievement test, and 3) the questionnaire to evaluate the learners’ satisfaction. The research results found that the quality of the CAI was at a very good level with mean equal to 4.78 and standard deviation equal to 0.38. The efficiency was 82.20/82.50. The learning effectiveness was increase 60.08 percent. When compare achievement score between two groups, the result showed that the group taught by CAI had higher score than the group taught by normal method at 0.05 significant level. The satisfaction of learners was at a very high level with mean equal to 4.76 and standard deviation equal to 0.47.