การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอนุพันธ์ ของนักศึกษาสาขาธุรกิจการเกษตร ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค (Learning Together A study of the learning achievement on Derivative for Agribusiness student by Cooperative Learning Together Technique)

Main Article Content

พิสิษฐ์ สุวรรณแพทย์ (Suvarnaphaet, P.)
กตญ มหาชนะวงศ์ สุวรรณแพทย์ (Suvarnaphaet, K. M.)

Abstract

                งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เพื่อธุรกิจการเกษตร เรื่องอนุพันธ์ ของนักศึกษาสาขาธุรกิจการเกษตร ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Learning Together กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือนักศึกษาสาขาธุรกิจการเกษตร ชั้นปีที่ 1 สาขาธุรกิจการเกษตร คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 33 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ดำเนินการศึกษาตามรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) เครื่องมือวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Learning Together 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t –test)


               ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เพื่อธุรกิจการเกษตรของนักศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Learning Together พบว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Learning Together สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่องอนุพันธ์ให้สูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค Learning Together อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.03


 


               The purpose of the research was to comparison of learning achievement on derivative for Mathematics for Agribusiness of the Agribusiness student by using cooperative learning technique. The sample sizes were 33 students from the first-year agribusiness students of Faculty of Animal Science and Agricultural Technology, Silpakorn University, according to classroom action research-based process. The research instruments were: 1) the lesson plan based on using Cooperative Learning Together Technique; 2) learning achievement test; and 3) students’ satisfaction questionnaires toward the cooperative learning activities with LT technique. The statistics used for analyzing data were mean, standard deviation, and t-test was employed for testing hypotheses. The research finding was the achievement learning after was higher than before learning at the statistical of .05 levels. The students' satisfaction levels of students toward the cooperative learning activities with LT technique were at the high level. ( =4.03)

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts
Author Biography

พิสิษฐ์ สุวรรณแพทย์ (Suvarnaphaet, P.), คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

อาจารย์ประจำ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

lecturer, Faculty of Agricultural Technology, Silpakorn University Phetchaburi IT Campus