ความต้องการจำเป็นและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมแบบทวิภาคี โดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย (Needs And Guidelines Of The Dual Partnership Management Model Applying Movement Activities Enhancing Physical Fitness For Preschool Childhood)
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยเชิงสำรวจบุกเบิกนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดกิจกรรมแบบทวิภาคีโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางในการจัดกิจกรรมแบบทวิภาคีโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกรณีศึกษา โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลและการสัมภาษณ์กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ 1.ผู้ปกครองจำนวน 24 คน 2.ครูผู้สอนระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 8 คน 3. ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 12 คน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัยนำเสนอ 2 ประเด็นได้แก่ 1) สภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว สำหรับเด็กปฐมวัยพบว่า 1.1) สภาพการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ด้านหลักสูตร ส่วนใหญ่ใช้หลักสูตรสถานศึกษา เน้นการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ ด้านลักษณะของกิจกรรม เป็นกิจกรรมเสรี กิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรม เสริมประสบการณ์และเกมการศึกษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1.2) ปัญหาในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว
ผลวิจัยพบว่า 1.2.1) ด้านผู้เรียน ยังปฏิบัติทักษะการเคลื่อนไหวไม่ถูกต้อง การทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ยังไม่สัมพันธ์กัน และมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันค่อนข้างน้อย 1.2.2) ด้านครูผู้สอน ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ทำให้การจัดกิจกรรมไม่หลากหลาย 1.2.3) ด้านผู้ปกครอง ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในด้านวิชาการมากกว่าทักษะการเคลื่อนไหวของนักเรียน 1.2.4) ด้านผู้บริหาร การเปลี่ยนผู้บริหารและนโยบาย มีผลต่อแนวทางในการจัดกิจกรรม และ 1.2.5) ด้านสถานที่ไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว 1.3) ความต้องการจำเป็นในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว พบว่า ด้านความสำคัญและบทบาทหน้าที่ กิจกรรมเคลื่อนไหวคือการเรียนรู้ของเด็ก การเคลื่อนไหวและออกกำลังกายเป็นประจำร่างกายได้รับการกระตุ้นเป็นผลให้ร่างกายมีความแข็งแรงและพัฒนาการที่สมวัย ด้านการทำงานร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวจะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสฝึกการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน และด้านระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมคือ 4-5 ครั้ง/สัปดาห์ ครั้งละ 20-30 นาที ประเด็นที่ 2) แนวทางการสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมแบบทวิภาคีโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว ต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 2.1)หลักการแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2.2)จุดมุ่งหมาย 2.3)กระบวนการจัดกิจกรรมแบบทวิภาคีโดยใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว 2.4)บทบาทหน้าที่ของครู ของผู้ปกครอง และของนักเรียน 2.5)การวัดและประเมินผล
This exploratory research is part of the research of the dual partnership management model applying movement activities enhancing physical fitness for preschool childhood. This research is aimed to examine state, problems, needs and guidelines of the dual partnership management model applying movement activities enhancing physical fitness for preschool childhood. This study is conducted by use of the qualitative method to collect data from case study. Collecting qualitative data includes such methods as non-participative observation, individual interview and group interview. The sample population used for this research consists of 24 parents, 8 kindergarten teachers, and 12 school administrators. The informants in the study are Purposive Sampling.
The research findings are concluded to 2 aspects were as follows: Issues 1.) State of problems and the needs of the movement activities management for preschool childhood are revealed that: 1.1) Learning management at the present time, most of the schools implement school-based curriculum to focus on integrative-learning activities, alternative activities, creative activities, activities to enhance students' experience and educational games to achieve the objectives of curriculum. 1.2) The problems of movement activities management were found that: 1.2.1) The students, they are not able to follow physical movement skills correctly, less of relation of body movement in physical activities, and having less of movement in daily life. 1.2.2) The instructors, the problem is a lack of professional instructors and those provide not varieties of learning activities. 1.2.3) The parents, they mainly focus on the achievement of academic more than movement activities. 1.2.4 The administrators, the often changing of the school administrators influences to the guidelines of activities management. 1.2.5) There is a problem of small places where are not enough space to do movement activities. 1.3) The needs of movement activities management are found that the significant and the role of movement activities are learning of children. Regularly movement and exercise are to stimulus the body to become strong and develop in a right at the age. In the point of cooperative working from teachers and parents will help to support the opportunities of movement activities to continually enhance physical fitness to come along at the same way both at school and home. Furthermore, the suitable times are 4-5 times/week and 20-30 minutes at a time. Issues 2.) The guidelines of dual partnership management model applying movement activities enhancing physical fitness for preschool childhood consist of: 2.1) Principle or basic concept of theory 2.2) Purpose 2.3) The process of the dual partnership management model applying movement activities 2.4) The roles of teachers, parents, and students 2.5) Evaluation and assessment.