การขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยที่มีผลต่อนักศึกษา (The Driving Social Responsibility Of Universities That Affects Students)

Main Article Content

พรธิดา วิเศษศิลปานนท์ (Porntida Visaetsilapanonta)

Abstract

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อนักศึกษาจากการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยที่มีผลต่อนักศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยกรณีศึกษา 2 แห่ง ที่มีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมมามากกว่า 5 ปี  และประกาศเป็นนโยบายระดับมหาวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการมหาวิทยาลัยรับผิดชอบต่อสังคม บุคลากร และนักศึกษา  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแนวคำสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการจัดกลุ่ม จำแนกข้อมูล


               ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยกรณีศึกษาดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านการจัดทำเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในลักษณะโครงการจิตอาสาต่างๆ มากกว่าการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ซึ่งพบผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยต่อนักศึกษา ดังนี้ ด้านความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคมที่แตกต่างกันไป รวมทั้งเกิดการพัฒนาด้านทักษะชีวิตด้านความเป็นผู้นำ จิตอาสา สำนึกพลเมือง และพัฒนาทักษะอาชีพ รวมทั้งก่อให้เกิดเครือข่ายนักศึกษาและหน่วยงาน 


               ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยที่มีผลกระทบต่อนักศึกษา ประกอบด้วย นโยบายขององค์กร ความเข้าใจบริบทของสังคม ความสอดคล้องตามเกณฑ์ประเมินในการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  ความมุ่งมั่นของบุคลากรทุกฝ่าย และการสื่อสารต่อสังคม  ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การสร้างความเข้าใจต่อแนวคิดและกำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ในกระบวนการของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในภายนอก และออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผู้เรียนและบริบทโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 


 


               This research aims to study relevant factors and impacts on students caused by university’s social responsibility. This research was a qualitative research conducted by indept interviews with key informants who worked at two universities with more than five years of experience in university social responsibility which have been declared as a university policy. Key informants includes lecturers who were in charge of university’s social responsibility projects, personnel and students. Tool used in research was the interview questions and analyzed data by content analysis with grouping and classification.


               The research found that the sample universities carry out University’s Social Responsibility (USR) through the provision of extra-curricular activities, such as volunteering projects, more than through teaching and learning. The impact of USR activities on students is consisted of knowledge, understanding, and attitude, which are related to responsibilities toward societies. Also, the USR activities affect development on life skills; such as leadership, volunteerism, civic engagement, career development, and network of students and organizations.


               The factors related to the USR’s motivation toward students include organizational policy, social context understanding, conformance to the quality assurance criteria of the university, activity design, personnel commitment, and social communication. Research recommendation is for the university to make process on encouraging the understanding of the concept, making policy about social responsibility; considering both affected insiders and outsiders, and designing learning activities compatible for students and community engagement context.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

ภาษาไทย
Amornwiwat Sumon. (2009). Padinyā mahāwitthayālairapphitchō̜ptō̜sangkhom [Declaration "Social Responsibility University]. Bangkok: Center for Moral Empowerment and Development.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2552). ปฎิญญา “มหาวิทยาลัยรับผิดชอบต่อสังคม”. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
Apinanmakul Amonrat. (2012). Ratkapkānphatthanāthunthāngsangkhom. [State and social capital development]. Faculty of Economic Development. National Institute of Development Administration.
อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล. (2555). รัฐกับการพัฒนาทุนทางสังคม. คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Chalœmwongsawet Wallapa. (2555). khwāmrapphitchō̜p tō̜ sangkhom khō̜ng ʻongkō̜n ʻudomsưksā [Social Responsibility of higher education organization]. Exclusive Journal. 2(1), 116-112.
วัลลภา เฉลิมวงศาเวช. (2555). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอุดมศึกษา. Exclusive Journal. 2(1), 116-112.
Institute for Social Business. (2011). Creating Social Business: Sāngthurakitphư̄asangkhom. [Creating Social Business: Creating social business]. Bangkok: Social Business Institute.
สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2554). Creating Social Business: สร้างธุรกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม.
Nirunthavee Sakchai. (2002). Kār reīyn rū̂ d̂wy kār rạb chı̂ s̄ạngkhm. [Social service learning]. Bangkok: Photo Print Partnership.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2545). การเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
Office of the Higher Education Commission. (2552). Mh̄āwithyālạy kạb khwām rạbp̄hidchxb t̀x s̄ạngkhm. [University social responsibility]. Retrieved August 4, 2559, from https://www.mua.go.th/data_pr/data_sumate_52/Retreat_4.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552) . มหาวิทยาลัยกับความรับผิดชอบต่อสังคม.
สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2559, จาก https://www.mua.go.th/data_pr/data_sumate_52/Retreat_4.pdf.
Office of the Higher Education Commission. (2557). Pradenpatirūp Rō̜ngsō̜ng Lēm 1. : Rōngphimčhulālongkō̜nmahāwitthayālai. [Two secondary reform issues 1]. Bangkok: Chulalongkorn University Printing.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). ประเด็นปฏิรูปรอบสอง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Palanan Thakoon and Ponathong Chakrit. (2018). Kār wikherāah̄̒ xngkh̒prakxb khwām rạbp̄hidchxb t̀x s̄ạngkhm k̄hxng nạkṣ̄ụks̄ʹā withyālạy phạtʹhnā chumchn meụ̄xng mh̄āwithyālạy nw mi nth rā ṭhi rāch. [A Factor Analysis of Social Responsibility of Students of Urban Community Development College, Navamindradhiraj University]. Veridian E-Journal, Silpakorn University. Year 11, Issue 1 (January-April): 1557-1571.
ฐากูร ปาละนันทน์ และ จักรกฤษณ์ โปณะทอง. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาวิทยาลัยพัฒนาชุมชนเมือง มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากรม, ปีที่ 11, ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน): 1557-1571.
Panich Wichan. (2557). chut khwāmrū thūapai kīeokap nayōbāi sāthārana dān kānsưksā plīan krabūan that khō̜ng ʻudomsưksā Thai. [General knowledge about public policy in education Change the paradigm of Thai higher education]. Bangkok: Plan Printing Company Limited.
วิจารณ์ พานิช. (2557). ชุดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะด้านการศึกษา เปลี่ยนกระบวนทัศน์ของอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท แปลน พริ้นติ้ง จำกัด.
Rattananee Nisachon and Siriwongc Pitak. (2018). “Rūp bæb klyuthṭh̒ læa kār s̄ụ̄̀xs̄ār p̣hāphlạks̄ʹṇ̒ d̂ān khwām rạbp̄hidchxb t̀x s̄ạngkhm k̄hxng xngkh̒kār p̣hākh rạṭ̄h læa p̣hākh xekchn thī̀ prākt̩ xyū̀ nı h̄nạngs̄ụ̄xphimph̒ prachāchāti ṭhurkic” [The patterns The strategies and The communication for brand creation for corporate social responsibility (CSR) of Government and Private Sector found in Prachachat Business News]. Veridian E-Journal, Silpakorn University, Year 11, Issue 1 (January-April): 597-615.
นิศาชล รัตนมณี และ พิทักษ์ ศิริวงศ์ . (2561). รูปแบบ กลยุทธ์ และการสื่อสารภาพลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การภาครัฐ และภาคเอกชนที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ. Veridian E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 11, ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน): 597-615.
Social Research Institute Chulalongkorn University. (2552). ʻĒkkasānprakō̜pkānprachoomsamatchākhunthamhǣngchāt Khrangthī Sī Fāwikritdūaithurakitkhuntham:Kānsāngthammāphibānnaiphākthurakityāngyangyư̄npraden Sipʻet Mahāwitthayālairapphitchō̜ptō̜sangkhom. [Document for the 4th National Moral Assembly Meeting through the crisis with moral business: Creating good governance in the sustainable business sector Issue 11 Social Responsibility University]. Moral Empowerment and Development Center.
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2552). เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ฝ่าวิกฤตด้วยธุรกิจคุณธรรม : การสร้างธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจอย่างยั่งยืนประเด็น 11 มหาวิทยาลัยรับผิดชอบต่อสังคม. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
Suphap Suphatra. (2003). Sangkhomwitthayā. [Sociology. 23rd edition]. Bangkok: Thai Wattana Panich.
สุพัตรา สุภาพ. (2546). สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ภาษาต่างประเทศ
Global USR Network. (2011). Global USR Network. Retrieved February 12, 2017, from
https://globalusrnetwork.org/index.html.
Joanna, G and John W. K. (2005). Affective Attitudes Toward the Poor Through Group Process: The Alternative Break Service Trip. Journal of Higher Education Outreach and Engagement, 10 (3), 7-22.
Keynan, I. (2014). Knowledge as Responsibility: Universities and Society. Journal of higher Education and Engagement. 18(2). 179-206.
Kotler, P. and Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility: Doing the Most Good for Your Company and Your Cause. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.
Plungpongpan, J. (2016). University social responsibility and brand image of private universities in Bangkok. International Journal of Education Management. 30(4), 571-591.
Reiser, J. (2005). Managing university social responsibility. International Sustainable Campus Network: Best Practices - Future Challenges, Zurich, Switzerland. Retrieved August 2, 2017, from https://www.international-sustainable-campus-network.org/view-document/108-panel-b1-juan-reiserpontificia-universidad-catolica-del-peru.html.
Schwartz, M.S. and Carroll, A.B. (2008). Integrating and unifying complementary frameworks: the search for a common core in the business and society field. Business & Society, 47(2), 148-186.
Tandon, R. and Singh, W. (2015). Transforming higher education through community engagement. University World News, 9(355), Retrieved February 20, 2017, from https://www.universityworldnews. com/article.php?story =20150217102602953.
Vallaeys, F., De La Cruz, C. & Sasia, P.M. (2009). Responsabilidad Social Universitaria, Manual de Primeros Pasos. McGrawHill: Mexico D.F.
Whitley, C.T. and Yoder, S.D. (2015). Developing social responsibility and political engagement: Assessing the aggregate impacts of university civic engagement on associated attitudes and behaviors. Education, Citizenship and Social Justice, 10(3) :217-233.