การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ เชิงประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี (Development of Mathematical Problem Solving Ability by Using the Experiential Learning of Mathayomsuksa I Students in Benjamarachutit Ratchaburi School )
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างเดียววัดผลก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า
1) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์อยู่ในระดับดีมาก
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์อยู่ในระดับมาก
The purpose of this research were 1) to study mathematical problem solving ability of mathayomsuksa I students after learning by using the learning management based on experiential learning 2) to compare learning achievement of mathayomsuksa I students before and after learning by using the learning management based on experiential learning and 3) to study satisfaction of mathayomsuksa I students toward the learning management based on experiential learning. The samples were 40 mathayomsuksa I students who were studying in secondary semester of the academic year 2018 in Benjamarachutit Ratchaburi School. They were selected through applying cluster random sampling. Research design was pre-experimental design in the form of one-group pretest-posttest design. The research instruments consisted of 1) lesson plan based on experiential learning 2) the mathematical problem solving ability test 3) the mathematical achievement test and 4) the satisfaction questionnaire. The statistics for data analysis were mean, standard deviation and t-test. The research results were as follows:
1) Mathematical problem solving ability of mathayomsuksa I students after learning by using the learning management based on experiential learning was the excellent level.
2) The learning achievement of mathayomsuksa I students after learning by using the learning management based on experiential learning was higher than that before learning by using the learning management based on experiential learning at the .05 level of significance.
3) Satisfaction of mathayomsuksa I students who learned by using the learning management based on experiential learning was a high level.
Article Details
References
อภิรักษ์ อติพลอัครพันธุ์. (2548). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบเน้นประสบการณ์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Buason, R. (2009). kānwičhai læ phatthanā nawattakam kānsưksā [Research and Developing Educational Innovation]. Bangkok : Kham Samai.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.
Buranaphansak, K. (2018). kān rīan kānsō̜n thī næ hai rūkhit kān rīanrū rūam kan læ rūpbǣp kān plǣng khō̜ng lēt sū nǣothāng kānčhatkān rīanrū phư̄a phatthanā khwāmrū thāng khanittasāt khō̜ng naksưksā khrū yuk mai [Cognitively Guided Instruction, Collaborative Learning, and the Lesh Translation Model to Learning Management Guideline for Develop Mathematical Knowledge of Preservice Teacher in Modern Age]. Proceedings in 2nd National and International Research Conference 2018 (pp. 72 – 88). Buriram Rajabhat University.
เกษสุดา บูรณพันศักดิ์. (2561). การเรียนการสอนที่แนะให้รู้คิด การเรียนรู้ร่วมกัน และรูปแบบการแปลงของเลชสู่แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครูยุคใหม่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2561 (หน้า 72 – 88). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Kamsamut, P. (2008). kānprayukchai krabūankān rīanrū čhāk prasopkān sāra kān rīanrū khanittasāt rư̄ang kān būak kān lop chan prathomsưksā pī thī sī [The application of experiential learning process in mathematics strand on the topic of addition and subtraction grade 4]. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 2(1), 81-90.
พุ่มพฤกษ์ กำสมุทร. (2551). การประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การบวก การลบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(1), 81-90.
Khaemmani, T. (2008). sāt kānsō̜n ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīanrū thī mī prasitthiphāp[Teaching : Knowledge to Effective Learning Management]. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Makanong, A. (2010). thaksa læ krabūankān thāng khanittasāt : kānphatthanā phư̄a phatthanākān [Mathematical Skills and Processes : Development for development]. Bangkok : Chulalongkorn University Press.
อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ministry of Education. (2017). laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt sō̜ngphanhārō̜ihāsipʻet læ māttrathān kān rīanrū læ tūa chī ( chabap prapprung Phō̜.Sō̜. 2560)[Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (revised edition B.E. 2560)]. Retrieved from https://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). สืบค้นจาก https://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75
Norat, P. (2012). kānphatthanā chut kitčhakam kān rīanrū phư̄a sœ̄msāng khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā thāng khanittasāt rư̄ang rabop samakān chœ̄ng sēn samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sām [The Development of Learning Package for Enhancing of Problem Solving on Linear Equation System Topic for Mathayomsuksa III Students]. (Master’s Thesis). Naresuan University.
พูนทรัพย์ โนราช. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบสมการเชิงเส้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Office of the Basic Education Commission. (2002). phrarātchabanyat kānsưksā hǣng chāt læ thī kǣkhai phœ̄mtœ̄m chabap thī sō̜ng Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜isīsiphā [National Education Act B.E. 2542 and as amended (No. 2)]. Bangkok.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และที่แก้ไข เพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ.
Onsri, P. (2015). botbāt phū sō̜n tō̜ thaksa kān rīanrū nai satawat thī yīsipʻet [The Instructor’s Role towards 21st Century Learning Skills]. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 16(3), 8-13.
ปราณี อ่อนศรี. (2558). บทบาทผู้สอนต่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(3), 8-13.
Phakniaranat, S. (2015). phonkān čhat kitčhakam kān rīan kānsō̜n khanittasāt dōi chai kān rīanrū bǣp prasopkān samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sō̜ng rōngrīan sāthit mahāwitthayālai Chīang Mai [Results of Conducting Mathematics Instructional Activities Using Experiential Learning for Mathayom Suksa 2 Students Chiang Mai University Demonstration School]. (Master of Education Thesis in Mathematics Education). Chiangmai University.
สิริอรพิมพ์ ภัคเนียรนาท. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบประสบการณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Phonlaja, N., & Kusuman, M. (2007). kānprayukchai krabūankān rīanrū čhāk prasopkān chan matthayommasưksā pī thī nưng [Using Experiential Learning of Mathayomsuksa 1 Students]. (Bachelor of Education Thesis in Mathematics). Rajabhat Maha Sarakham University.
นิตยา พลจ่า และ มธุรินทร์ กุสุมาลย์. (2550). การประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Phuwiphadawo̜rarot, S. (2011). kān yưt phū rīan pen sūnklāng læ kānpramœ̄n tām saphāp čhing [Child Centered and Authentic Assessment]. Chiangmai : Sangsilp Press.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์ แสงศิลป์.
Pinthong, S. (2011). kānprīapthīap khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā khanittasāt rư̄ang ʻasommakān læ čhētakhati tō̜ kān rīan wichā khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sām thī dai rap kānsō̜n dōi chai rūpbǣp SSCS læ kānsō̜n dōi chai theknik phōn yā [A Comparison of Mathayomsuksa III Students’ Mathemaical Ploblem Solving Ability in Inequality and Attitude Towards Mathematics Learning by Using SSCS Model and KWDL Technique]. (Master of Education Thesis in Secondary Education). Srinakharinwirot University.
สุภาพร ปิ่นทอง. (2554). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ และเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบ SSCS และการสอนโดยใช้เทคนิคโพลยา. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Ponlunhit, J., Nualpang, K., & Angganapattarakajorn, V. (2018). phon khō̜ng kānčhatkān rīanrū chœ̄ng prasopkān thī mī tō̜ thaksa kān kǣ panhā læ thaksa kān chư̄am yōng thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sām [The Effects of Using Experiential Learning Management on Mathematical Problem Solving Skills and Connection Skills of Mathayomsuksa 3 Students]. Journal of Curriculum and Instruction Sakon Nakhon Rajabhat University, 10(27), 15-26.
จตุพร ผ่องลุนหิต, คงรัฐ นวลแปง และ เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(27), 15-26.
Saensung, R. (2015). kānčhat kitčhakam kān rīanrū tām nǣokhit kānčhatkān rīanrū chœ̄ng prasopkān phư̄a songsœ̄m phon samrit thāngkān rīan læ khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā thāng khanittasāt rư̄ang ʻattrāsūan læ rō̜ila samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thīsō̜ng [The Learning Activities Based on Experiential Learning to Encourage Learning Achievement and Mathematics Ploblem Solving Ability on Ratio and Percentages for Mathayomsuksa II Students]. (Master of Education Thesis in Science Education). Naresuan University.
เรียมพร แสนซุ้ง. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา).มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Saiyot, L., & Saiyot, A. theknik kānwičhai thāngkān sưksā (5th ed.) [Educational Research Technique (5th ed.)]. Bangkok : Suviriyasarn.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
Sirichantr,J. (1999). kānphatthanā manō mati thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan chan prathomsưksā pī thī nưng dōi chai rūpbǣp kānsō̜n khanittasāt thī nēn prasopkān thāng phāsā khō̜ng nakrīan [The Development of Mathematical Concepts of Prathomsuksa 1 Students Using The Mathematics Instructional Model With The Emphasis on Students Language Experiences]. (Master’s Thesis). Khon Kaen University.
จามรี ศิริจันทร์. (2542). การพัฒนามโนมติทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบ การสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นประสบการณ์ทางภาษาของนักเรียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Srisa-ard, B. (2013). kānwičhai bư̄angton chabap prapprung mai [INTRODUCTION TO RESEARCH Revised Version]. Bangkok : Suviriyasarn.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
Suttirat, C. (2016). 80 nawattakam kānčhatkān rīanrū thī nēn phū rīan pen samkhan [Innovative Management Learning Emphasized Child Centered]. Bangkok : Danex Inter Corporation.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). kān watphon pramœ̄nphon khanittasāt [Measurement and Evaluation Mathematics]. Bangkok : SE-EDUCATION.
______. (2012). thaksa krabūankān thāng khanittasāt (3th ed.) [Mathematical Process Skills (3th ed.)]. Bangkok : 3 Q – Media.
______. (2017). khūmư̄ khrū rāiwichā phư̄nthān khanittasāt lem sō̜ng chan matthayommasưksā pī thī nưng klum sāra kān rīanrū khanittasāt tām laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt sō̜ng hārō̜ihāsipʻet ( chabap prapprung Phō̜.Sō̜. 2560) [Curriculum Teacher Guide No. 2 for Mathayom 1 Core from Curriculum for Basic Education Act 2551 (revised edition B.E. 2560)]. Bangkok : Office of the Welfare Promotion Commission for Teachers and Education Personnel Press.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
______. (2555). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 3 คิว-มีเดีย.
______. (2560). คู่มือครูรายวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์ เล่ม 2ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
Thipkhong, S. (2001). kān kǣ panhā thāng khanittasāt [Solving Math Problems]. Bangkok : Department of Curriculum and Instruction Development.
สิริพร ทิพย์คง. (2544). การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ.
Thongnuan, P. (2011). phon khō̜ng kānčhatkān rīanrū yāng mīchīwitchīwā dōi nēn kānchai tūathǣn thī mī tō̜ phon samrit thāngkān rīan khwāmsāmāt nai kānhai hētphon læ khwāmsāmāt nai kānsư̄sān thāng khanittasāt rư̄ang khwāmsamphan læ fangchan khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sī [The Effects of Organizing Active Learning Emphasized Representation on Mathematical Achievement, Reasoning and Communication Abilities in Relations and Functions of Mathayomsuksa IV Students]. Master of Education Thesisin Secondary Education. Srinakharinwirot University.
พรรณทิภา ทองนวล. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาโดยเน้นการใช้ตัวแทนที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการสื่อสารทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Wichadee, S. (2011). rūpbǣp kān rīan khō̜ng phū rīan nai mummō̜ng khō̜ng thritsadī kān rīanrū bǣp prasopkān [Learner Learnings’ Styles : The Perspectives from the Theory of Experiential Learning]. Retrieved from
https://clib.psu.ac.th/images/ratana/APA-6-edition.pdf
เสาวภา วิชาดี. (2554).รูปแบบการเรียนของผู้เรียนในมุมมองของทฤษฎีการเรียนรู้แบบประสบการณ์. ค้นจาก https://clib.psu.ac.th/images/ratana/APA-6-edition.pdf
Wutsanphatthana, K. (2005). phon khō̜ng kānčhat kitčhakam kān rīan kānsō̜n khanittasāt dōi nēn kān rīanrū čhāk prasopkān thī mī tō̜ khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā khanittasāt læ kān khit yāng mī wičhāranayān khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sām čhangwat Phayao [Effects of using experiential learning in organizing mathematics instructional activity on mathematics problem solving ability and critical thinking of ninth grade students in Phayao Province]. (Master’ Thesis). Chulalongkorn University, Bangkok.
กษมา วุฒิสารพัฒนา. (2548). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดพะเยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
Yusuk, W. (2012). kānphatthanā khwāmsāmāt nai kānhai hētphon læ khwāmkhit sāngsan thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sī dōi chai chut kitčhakam sœ̄m laksūt khanittasāt læ wongčhō̜n kān rīanrū chœ̄ng prasopkān [Development of Mathematical Reasoning Ability and Creativity of Tenth Grade
Students Using Mathematical Extra-Curricular Activities and Experiential Learning
Cycle]. (Master of Education Thesis in Mathematics Education). Chulalongkorn
University.
วรนารถ อยู่สุข. (2555). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลและความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรคณิตศาสตร์และวงจรการเรียนรู้เชิงประสบการณ์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.