การประเมินความพร้อมของแหล่งน้ำพุร้อน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ สู่การพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อน (An Evaluation of The Readiness of Hot Spring, Amphoe Khlong Thom, Changwat Krabi To Be Developed as A Prototype of Hot Spring-Health Tourism)

Main Article Content

เกศวลีณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (Katewalee Rattanadilok na phuket)
ณารีญา วีระกิจ (Nareeya Weerakit)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ เพื่อการพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อน จากมุมมองของนักท่องเที่ยว 2) สำรวจความพึงพอใจโดยรวม และแนวโน้มการบอกต่อจากประสบการณ์การท่องเที่ยวแหล่ง น้ำพุร้อน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมของแหล่งน้ำพุร้อนในอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ต่อความพึงพอใจโดยรวม และแนวโน้มการบอกต่อจากประสบการณ์การท่องเที่ยวแหล่งน้ำพุร้อน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งน้ำพุร้อน จังหวัดกระบี่ ในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ สระมรกต น้ำตกร้อน และน้ำพุร้อนเค็ม จำนวน 400 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


               ผลการวิจัยความคิดเห็นต่อความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยว พบว่า องค์ประกอบทางการท่องเที่ยวทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว 2) เส้นทางคมนาคมเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 3) สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว 4) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 5) ที่พักในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว และ 6) กิจกรรมการท่องเที่ยว มีความพร้อมโดยภาพรวมในระดับมากทุกองค์ประกอบ อีกทั้งความพึงพอใจโดยรวมจากประสบการณ์ท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก และแนวโน้มการบอกต่อจากประสบการณ์การท่องเที่ยวอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว และความพึงพอใจโดยรวมและแนวโน้มการบอกต่อ พบว่า องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว 3 ด้าน ได้แก่ 1) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว 2) เส้นทางคมนาคมเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และ 3) กิจกรรมการท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความพึงพอใจโดยรวมและแนวโน้มการบอกต่อจากประสบการณ์การท่องเที่ยวแหล่งน้ำพุร้อน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


 


                 The objectives of this study were to 1) assess the readiness of health tourism destination in Amphoe Khlong Thom, Changwat Krabi to be developed as a prototype of hot spring-health tourism from tourists’ perception, 2) evaluate the overall satisfaction and the likelihood to recommend from the travelling experience at hot spring in Amphoe Khlong Thom, Changwat Krabi, and 3) investigate the relationship between readiness of hot spring as health tourism destination, overall satisfaction and likelihood to recommend. Four hundred Questionnaires were collected from both Thai and international tourists at Emerald Pool (Sa Morakot), Hot Spring Waterfall, and Saline Hot Spring in Amphoe Khlong Thom, Changwat Krabi. Descriptive statistics and inferential statistics including percentage, mean, standard deviation and multiple regression were used for data analysis. 


               The results showed that in order to assess the readiness of the hot spring as health destination, 6 tourism factors: 1) Tourist attractions, 2) Accessibility, 3) Facilities, 4) Tourist attraction management, 5) Accommodations, and 6) Tourism activities were rated. All factors were rated high. The overall satisfaction and the likelihood to recommend were also high. Moreover, tourist attractions, accessibilities and tourism activities had a significant positive relationship with the overall satisfaction and the likelihood to recommend from travelling experience in hot spring tourism destination in Amphoe Khlong Thom, Changwat Krabi. 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts