การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลของนักศึกษาครู (A Study on Media Information and Digital Literacy of Pre-service Teachers)

Main Article Content

สรภัส น้ำสมบูรณ์ (Sorapas Namsomboon)

Abstract

                งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ของนักศึกษาครู และ 2) ศึกษาสภาพการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาครูในเขตภูมิภาคตะวันตก ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 418 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับที่สอง ผลการวิจัย พบว่า


               1) ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครู พบว่าโมเดลการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าดัชนีวัดความสอดคล้องแต่ละตัวมีรายละเอียดดังนี้  ค่า c2  มีค่าเท่ากับ 98.79 และมีค่าองศาอิสระเท่ากับ 78 เมื่อทดสอบนัยสำคัญทางสถิติพบว่าระดับนัยสำคัญมากกว่า 0.05  (p=0.092) และอัตราส่วนระหว่างค่า c2 และค่าองศาอิสระเท่ากับ 1.27 ซึ่งหมายความว่าโมเดลการวัดตามสมมติฐานนั้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์


               2) ผลการวิเคราะห์สภาพการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.07) เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบ พบว่าด้านที่ 1 เข้าถึงสื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M=4.13) รองลงมาคือ ด้านที่ 3 สร้างสรรค์เนื้อหาและข้อมูลสารสนเทศ และด้านที่ 4 ประยุกต์ใช้และสร้างการเปลี่ยนแปลงมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน (M=4.09) โดยที่ด้านที่ 2 วิเคราะห์ วิพากษ์ และประเมินสื่อดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด(M=3.98)


 


               The objectives of this research were to 1) study components of media information and digital literacy (MIDL) of pre-service teachers and 2) study state of media information and digital literacy (MIDL) of pre-service teachers. The research sample comprised of 418 pre-service teachers of western region studying in semester 1 academic year 2018 selected samples by multi-state sampling method. The research tools comprised of media Information and digital literacy test. Data were analyzed using statistics of mean, standard deviation, second-order confirmatory factor analysis.


               The results of the study were as follows.


               1) The result of construct validity examination of media Information and digital literacy model for pre-service teacher showed model fit to the empirical data ( = 98.79, df = 78, p = 0.092) The ratio between and degree of freedom equaled 1.27 indicated that the hypothetical model fit well to the empirical data


               2) The current state of media Information and digital literacy model in total was in high level (M=4.07). The analysis of each indicator resulted that factor 1 approaching digital media safely showed the highest scores (M=4.13), factor 3 creating contents and information and factor 4 applying and creation changes showed the second level scores (M=4.09), and factor 2 analyzing, criticizing and evaluating digital media showed the lowest scores (M=3.98) respectively.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts