ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของครัวเรือนเพื่อการพึ่งตนเองตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อำพล รักษายศ

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลฐานการพัฒนา และปัญหาการพัฒนาศักยภาพของครัวเรือนเพื่อการพึ่งตนเอง ตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเพื่อสร้างยุทธศาสตร์            การพัฒนาศักยภาพของครัวเรือนเพื่อการพึ่งตนเอง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้าครัวเรือน หรือสมาชิกในครัวเรือน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงให้ได้บุคคลที่ให้ข้อมูลได้ดีที่สุด จำนวน 40 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึก และเทคนิค SWOT Analysis วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการพัฒนาศักยภาพของครัวเรือนด้านความรู้ ความเข้าใจ ขาดการพัฒนาด้านความรู้ ความเข้าใจ ฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำ ไม่มีเวลาและโอกาสในการที่จะเข้าร่วมรับรู้ข่าวสาร หรือหาความรู้เพิ่มเติม ความรู้ความเข้าใจในการการประกอบอาชีพและหน้าที่ของตนเอง ความเข้าใจในหลักการวิชาการ ๆ การติดต่อสื่อสารกับผู้นำและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการครัวเรือน และทักษะการพัฒนาครัวเรือน โดยการนำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ได้แก่ ขาดทักษะในการนำความรู้ ความเข้าใจมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในครัวเรือน ความสามารถในการคิด ริเริ่ม สิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นอาชีพในครัวเรือน ทักษะความสามารถพื้นฐาน ได้แก่ การพูดเพื่อการสื่อสาร การเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ ผลการสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของครัวเรือนเพื่อการพึ่งตนเอง ได้ยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เชิงรุก ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข ยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน และยุทธศาสตร์เชิงวิกฤติ ซึ่งยุทธศาสตร์เชิงรุกได้แก่ พัฒนาครัวเรือนให้มีศักยภาพในการประกอบอาชีพเพื่อการพึ่งตนเอง และพัฒนาครัวเรือนให้มีความรู้ในการใช้สื่อและเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์เชิงแก้ไขได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการฝึกอบรมองค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อการพัฒนาอาชีพในครัวเรือนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม และยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ยุทธศาสตร์เชิงป้องกันได้แก่ สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาการประกอบอาชีพของชุมชนกับหน่วยงานของรัฐ สร้างเครือข่ายการออมทรัพย์ของชุมชนภายใต้การควบดูแลของหน่วยงานรัฐ และยุทธศาสตร์เชิงวิกฤต ได้แก่ แผนงานการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน ปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่ ผู้นำชุมชน และชุมชนครัวเรือน และแผนการพัฒนาชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองโดยการฝึกอบรม และทัศนศึกษาดูงาน


 


               The  purpose  of the  research  is  to  study  the  development databasc  and the problem of potentiality of households  the tambon Khian Sa Khian Sa District, Surat Thani province. And to establish a strategy for the development of household self-reliance. The sample of the Householder or household members Purposively selected to be the person who provided information on the number 40 Household tools used in research as a Focus Group Discussion In-deep interview and techniques SWOT Analysis Data were analyzed using content analysis.


               The results showed that the potentiality development of household knowledge and understanding of the development of knowledge as an economic downturn. Lack of time and opportunities to participate in the know. Or learn more Knowledge and understanding of the profession and their duties. Understanding of the principles of communication with other academic leaders and government officials. Knowledge Management Services. And skills development levies By bringing awareness Understanding applications include Lack of skills, knowledge Understanding applications in household occupations. Ability Initiative is a new household. Basic skills include the ability to speak for communication. Being Human Results of the strategic development of the household to build self-reliance. Strategy has four strategies include strategic proactive. Edit strategies Preventive strategies And strategic crisis This strategy includes aggressive Development potentialiy in household occupations for self-reliance. And households to develop knowledge in the use of media and technology. Strategies include editing Strategy, training, technical knowledge and professional development for household development strategy, training, moral, ethical and strategic development of infrastructure. Preventive strategies include: Create a network of cooperation in the development of professional community with a state agency. Build a network of community savings under the control of government supervision. And strategic crisis plans include the development of community infrastructure. Moral awareness to the community, community leaders and households. And plans to develop community self-reliance by training. And excursions to visit

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ