ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญ และฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 (Effects of future orientation program on adversity quotient of fifth grade students)

Main Article Content

วรัฐา นพพรเจริญกุล (Warruththa Noppornchrenkul)
ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ (Piyawan Visessuvanapoom)

Abstract

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากได้รับโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


 


              The purpose of this research was to study effects of future orientation program on adversity quotient of fifth grade students. Subjects consisted of 60 students the second in semester and academic year 2018 from Office of the Private Education Commission school. Instruments used in study included future orientation program on adversity quotient and
a adversity quotient test. Data collection is divided into 4 phases: pretest phase, experimental phase, posttest phase and delayed posttest phase. Data was analyzed by using independent t-test and One-way Repeated Measures (ANOVA).


               Results of the research were as follows: 1) After receiving the future orientation program, experimental group students had posttest scores and delayed-posttest scores of the adversity quotient test higher than pretest score at the .05 level of significance.
2) Experimental group students had posttest scores and delayed-posttest scores of adversity quotient test higher than control group students at the .05 level of significant

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts