ปรากฏการณ์วัฒนธรรมแฟนตัวละครการ์ตูนไทย (Fan Culture Phenomenon in Thai Cartoon Character)

Main Article Content

ณัฐพร กาญจนภูมิ (Nathaporn Karnjnapoomi)
จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า (Chakapong Phaetlakfa)
นพดล อินทร์จันทร์ (Noppadol Inchan)
อรัญ วานิชกร (Aran Wanichakorn)

Abstract

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแฟนของตัวละครการ์ตูนไทย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์แฟนของตัวละครการ์ตูนไทย เพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างแฟนกับตัวละครการ์ตูนและสามารถนำไปใช้เป็นองค์ความรู้สำหรับการพัฒนาด้านการออกแบบตัวละครการ์ตูนไทย ที่ส่งผลต่อการพัฒนาด้านธุรกิจการออกแบบตัวละครการ์ตูนไทยได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของสังคมและแนวทางความต้องการของแฟนตัวละครการ์ตูนไทย งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาจากตัวละครการ์ตูนไทย 3 ตัว คือ บลัดดี้ บันนี่, ปังปอนด์และก้านกล้วย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ลงภาคสนามสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสนทนาอย่างทางการและไม่เป็นทางการกับผู้ผลิตตัวละครการ์ตูนและแฟนของตัวละครการ์ตูน


 


               The purposes of this study were to assess the factors of what makes people fans of Thai cartoon characters and examine the connections that exist between cartoon fans. The positive enhancement of Thai cartoon characters in terms of their design and appeal as well as from a business perspective in keeping with the social context and the preferences of Thai cartoon fans would be better served by comprehension of the relations that exist between cartoon characters and their fans. In this research, three cartoons of Thai origin and design were employed including Bloody Bunny, Pang Pond, and Khan Kluay. Qualitative research approaches were employed including in-depth interviews, hands-on and non-participatory observation by the researcher, casual conversations and document exploration from Thai animation producers as well as fans.


               The findings of this study concluded that the majority of fans of Thai cartoon characters had individual interests. Further, most fans tended to experience parasocial interaction (PSI) with cartoon characters and related to them on this level, meaning imagination, bonding and loyalty are generated within fans during PSI with Thai cartoon characters, usually from television screens, though no actual relationship exists. This kind of relationship may carry over to the purchase and support of products based on the Thai cartoon characters as well as the following of trends related to or connected with certain cartoon characters.


               The three factors of Thai cartoon characters that generate interest include: (1) A unique and distinctive design. A good first impression is possible with an outstanding design; (2) The background and history of the characters may enable the initiation of internal connections between fans and their favorite cartoon characters; (3) Communication and societal interactions comprise aspects that enable the sharing, exchange, and dissemination of new data and trends concerning Thai cartoon characters.


               Relationships between these three cartoon character fans were characterized into three groups as beginner level, intermediate level and high level. The beginner group has certain personal features. They follow media concerning Thai cartoon characters, but there is no interaction between the parties, meaning communication is one way only. For intermediate level fans, there may be two-way interaction with specific interest groups as well as the producers of the cartoon characters. These fans interact with each other based on shared interests, meaning they may influence each other towards the purchasing of character-related products. The high-level fans tend to be the most enthusiastic and active in terms of seeking detailed data from media channels and producers regarding preferred cartoon characters. These fans often employ their know-how of cartoons and character-related products in order to express themselves to society as ‘true’ fans.


            ผลการวิจัยพบว่า แฟนของตัวละครการ์ตูนไทยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล มีความสัมพันธ์ในลักษณะปฏิสัมพันธ์แบบกึ่งมีส่วนร่วมทางสังคม มีความสนใจและติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง มีการสนับสนุน ผลงานของตัวละครการ์ตูนและผลิตภัณฑ์ต่างๆ แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อตัวละครการ์ตูนผ่านทางสื่อต่างๆ และมีการใช้สินค้าตัวละครการ์ตูนนั้นๆ เพื่อเป็นตัวแทนของตนหรือสะท้อนความคิดในรูปแบบต่างๆ  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแฟนของตัวละครการ์ตูนไทยนั้น คือ (1) ปัจจัยด้านรูปลักษณ์ภายนอก เพราะการออกแบบให้สวยงามและมีความน่าสนใจของตัวละครการ์ตูน จะก่อให้เกิดความประทับใจเมื่อแรกเห็น (2) ปัจจัยด้านเนื้อหาและเรื่องราวของตัวละครการ์ตูน เป็นสิ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์และผูกพันระหว่างแฟนกับตัวละครการ์ตูน และ (3) ปัจจัยด้านการสื่อสารและการสร้างชุมชน (Community) เป็นการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์ รับรู้ข้อมูลและข่าวกิจกรรมต่างๆ รวมถึงสามารถแลกเปลี่ยนแชร์ข้อมูลในสิ่งที่สนใจร่วมกันได้ จากผลระดับความสัมพันธ์แฟนของตัวละครการ์ตูนบลัดดี้ บันนี่, ปังปอนด์และก้านกล้วย สามารถแบ่งระดับความสัมพันธ์ของแฟนได้เป็น 3 ระดับ คือ (1) แฟนระดับเริ่มต้น มีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล ติดตามเรื่องราวต่างๆ ของตัวละครการ์ตูน เป็นผู้รับสารข้างเดียว ยังไม่มีการสื่อสารกับผู้อื่น (2) แฟนระดับกลาง เริ่มมีแสดงออกในรูปแบบต่างๆ ร่วมแสดงความคิดเห็น การแชร์ข้อมูลต่างๆ และมีการซื้อสินค้าตัวละครการ์ตูนมาใช้ (3) แฟนระดับสูง มีความกระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวละครการ์ตูน และมีการแสวงหาข้อมูลมากกว่าที่ผู้ผลิตส่งข้อมูลไปให้ มีการนำเอาความรู้ ความสามารถและทักษะส่วนตัวมาใช้ในการแสดงตัวตนว่าเป็นแฟนของตัวละครการ์ตูน

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts