รูปแบบการจัดแสดงละครพูดพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: กรณีศึกษาคณะละครสมัครเล่นทับแก้ว (Forms Of Stage Productions From Literary Works By His Majesty King Rama Vi: A Case Study Of Samaklentabkeaw Dramatroupe)

Main Article Content

ธีรพล กลิ่นมงคล (Theerapol Klinmongkol)

Abstract

               บทความฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานวัฒนธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดแสดงละครพูดพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของคณะละครสมัครเล่นทับแก้ว ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดแสดงละครของคณะละครสมัครเล่นทับแก้วแบ่งออกเป็น 6 กระบวนการ ได้แก่ 1) ด้านการเลือกเรื่องในการจัดแสดง มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การเลือกจากผลงานในชั้นเรียนการเลือกจากความประทับใจโดยส่วนตัว และการเลือกจากความสอดคล้องกับวาระสำคัญและเหตุการณ์ในสังคม  2) ด้านสถานที่และโอกาส จัดแสดงเนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์  จังหวัดนครปฐม 3) ด้านการคัดเลือกนักแสดง  คณะละครสมัครเล่นทับแก้วยึดมั่นในพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเปิดโอกาสให้คนทั่วไปที่สนใจการแสดงละครได้มีโอกาสเข้าร่วมการแสดง  4) ด้านกระบวนการฝึกซ้อม แบ่งเป็น 8 ขั้นตอน ได้แก่ การทำความรู้จักกัน การอบอุ่นร่างกาย การอ่านบทละครร่วมกัน การทำความเข้าใจตัวละครร่วมกับนักแสดง การฝึกซ้อมแบบแยกฉากและรวมฉาก การซ้อมกับฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก และเสื้อผ้า  การซ้อมกับเทคนิคแสงและเสียง และการซ้อมใหญ่ 5) ด้านการออกแบบศิลป์ แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก  เทคนิคแสง  เพลงและดนตรี  และเครื่องแต่งกาย 6) ขั้นตอนการแสดง แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนเริ่มการแสดง ช่วงการแสดง และช่วงหลังการแสดงเสร็จสิ้น  ทั้งนี้รูปแบบการจัดแสดงละครพูดในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวของคณะละครสมัครเล่นทับแก้วสะท้อนให้เห็นถึงการมุ่งอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมทางการแสดงที่เคยยึดถือปฏิบัติในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้เกิดการสืบทอดต่อไป


 


              This article is a part of the thesis of Master of Arts in Cultural management, College of Innovation Education, Thammasat University. The research purposes was to study  the forms of Samaklen Tabkaew Drama Troupe’s dialogue plays from literary works  by His Majesty King Rama VI. The research results show that the forms of Samaklen Tabkaew Drama Troupe’s dialogue plays were divided into 6 processes are as follows: 1) Choosing the play to perform by considering personal impression, lesson in class, or relevance to the current social situations 2) Place and time to perform was in the occasion of His Majesty King Rama VI Memorial Day at Silpakorn University - Sanamchandra Palace Campus in Nakhon Prathom 3) Casting the actors and actresses which Samaklen Tabkaew Drama Troupe kept His Majesty King Rama VI’s principle to open the chance to everyone being interested in performing arts 4) Practice divided into 8 steps which were introducing oneself to each other, warming-up the body, reading the play script together, making understand about the characters with the crew, practicing both separated scenes and whole play, practicing with all the setting and clothes, practicing with the light and sound, and finally dress rehearsal. 6) Art design was divided into 4 elements which were scene and properties of scene, light technic, music and song, and costume. 6) Period of performance was parted into 3 periods which were before, during, and after the performance. The forms of Samaklen Tabkaew Drama Troupe’s dialogue plays from literary works by His Majesty King Rama VI were reflected through the intention to conserve the performing custom in His Majesty King Rama VI Reign.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts