การพัฒนารูปแบบการสอนโดย ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมสากัจฉาร่วมกับ แผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (The Development Of Instructional By Dhammasakaccha Learning Process And Mind Map To Enhance System Thinking Of Mathayomsuksa V Students)

Main Article Content

ชรินทร รจิพูนพงศ์ (Charintorn Rujipoonpong)
บังอร เสรีรัตน์ (Bung – on Sereerat)
เพ็ญพร ทองคำสุก (Penporn Thongkamsuk)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมสากัจฉาร่วมกับแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมสากัจฉาร่วมกับแผนผังความคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 32 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมสากัจฉาร่วมกับแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.31 – 0.69 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.25 – 0.63และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2561 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


  1. รูปแบบการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมสากัจฉาร่วมกับแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 1)ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ 2)วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3)กระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบมี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้นจูงใจ ขั้นที่ 2 เรียนรู้เนื้อหาใหม่ขั้นที่ 3 ใช้แผนผังจัดความคิด ขั้นที่ 4 หมู่มิตรสนทนา ขั้นที่ 5 สรุปสาระเป็นระบบ และ 4) ผลที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนตามรูปแบบ

  2. นักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบธรรมสากัจฉาร่วมกับแผนผังความคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ ในภาพรวมแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

         The purposes of this research were 1) to develop of instruction by Dhammasakaccha learning process and mind map to enhance system thinking of  Matthayom V students. and  2) to compare system thinking ability of Matthayom V students with pretest and posttest  by Dhammasakaccha learning process and mind map. The samples used in this research were 32students of matthayom 5/3 Rattanakosin Somphot Bowonniwet Salaya School who were selected by cluster random sampling. The research instruments were:1) Dhammasakaccha learning process and mind map to enhance system thinking plan ; 2) 4 multiple choices  system thinking test . The difficulty between 0.31 – 0.69 and discrimination between 0.25 – 0.63 The data were analyzed by Mean, Standard deviation, and T – test


               The findings revealed as follows


  1. Dhammasakaccha learning process and mind map to enhance system thinking model consisted 1)Theory/Principle/Model Concept 2)Model Objectives 3) 5 Stages of  learning process were 1.Motivation , 2 New lesson learning ,3 Mind mapping usage, 4 Group discussion,5 System conclusion and 4) Learning outcome from model

  1. The students who learn Dhammasakaccha learning process and mind map to enhance system thinking in overall aspect have difference statistical significant at p <= 0.01

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts