การพัฒนาระบบการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยภาพ ของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันตก (Development of a blended learning instructional system for enhancing visual communication skills of undergraduate educational technology students of Rajabhat Universities in Western Thailand)

Main Article Content

ดวงพร วิฆเนศ (Duangporn Vikanaiz)
ทิพย์เกสร บุญอำไพ (Tipkesorn Boonumpai)
พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ (Pongprasert Hoksuwan)

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยภาพ ของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันตก มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ (1) ศึกษาองค์ประกอบของระบบการสอน (2) ทดสอบประสิทธิภาพของระบบการสอน(3) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียน (4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อระบบการสอน และ (5) ประเมินและรับรองระบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิ


                    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและด้านการออกแบบ การสอน จำนวน 10 คน และ (2) นักศึกษาปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) ระบบการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยภาพ ของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันตก (2) แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อระบบการสอน และ (4) แบบประเมินและรับรองระบบการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


                    ผลการวิจัย พบว่า


                    (1) ระบบการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยภาพ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก พบว่ามี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) บริบท  (2)  ปัจจัยนำเข้า (3) กระบวนการ (4) ผลลัพธ์ และ (5) ผลย้อนกลับ (2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชุดพัฒนาทักษะการสื่อสารด้วยภาพ E1/E2 เท่ากับ 80.20/ 82.17 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (3) นักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อระบบการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด และ (5) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและรับรองระบบการสอนอยู่ในระดับเหมาะสมมาก


 


               The objectives of this research were to develop the blended learning instructional system for enhancing visual communication skills of undergraduate educational technology students of Rajabhat Universities in Western Thailand. The specific objectives were (1) to study the components of the instructional system; (2) to study the developmental test of the instructional system; (3) to study the students learning progress; (4) students’ satisfaction questionnaire; and (5) to assess and certify the qualifications system from the educational experts.


               The samples used in this research were (1) 10 educational technology specialists and instructional design specialists (2)42 undergraduate educational technology students in Nakhon Pathom Rajabhat University which was obtained by multi-stage random sampling. The research instruments were: (1) the system prototype; (2) an achievement test; (3) students’ satisfaction questionnaire.; and (4) assessment and verification forms for educational experts. The statistics used in data analysis were E1/E2 Efficiency, mean, percentage, standard deviation and t-test (dependent samples).


               Major Findings:


               (1) The blended learning instructional system for enhancing visual communication skills of undergraduate educational technology students of Rajabhat Universities in Western Thailand consists of five components: (1) context; (2) Input; (3) Process; (4) Output; and (5) Feedback. (2) The developmental testing result of the visual communication skills package E1/E2 was 80.20/82.17 which met the criteria of 80/80. (3) The students have achievement progress was statistically significant at .01 level. (4) The satisfaction of students towards the instructional system was highest level. and (5) The assessment and certification of the qualifications system from the educational experts were found highly appropriate.

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts

References

เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
Brahmawong, C. (1977). rabop sư̄ kānsō̜n [Instructional Media Systems]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2520). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brahmawong, C. (1980). Educational Technology and Communications. Nonthaburi province: Sukhothai Thammathirat Open University.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Brahmawong, C. (2013). kānwičhai chœ̄ng wičhai læ phatthanā nawattakam thāngkān sưksā [Research and Development Innovation in Education]. Online. Retrieved May 5 2014. from : www.educ.su.ac.th/2013/images/stories/210655_01.pdf.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. เข้าถึงได้จาก www.educ.su.ac.th/2013/images/stories/210655_01.pdf.
Brahmawong, C. (2013). kānthotsō̜p prasitthiphāp sư̄ rư̄ chut kānsō̜n [Developmental Testing of
Media and Instructional Package]. Silpakorn Educational Research Journal. 5, (January - June): 7-19.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). “การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5,1 (มกราคม – มิถุนายน): 7-19.
Charmonman,S. (2006). ʻīlœ̄n ning radap parinyā phut khưn mā mākmāi : kānsưksā ʻō̜nlai nai saratʻamērikā Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜isīsippǣt [Growing by degrees: online education in the United States, 2005] / by I. Elaine Allen and Jeff Seaman; Permission given by Sloan Consortium (Sloan-C) Bangkok: Assumption University Press.
ศรีศักดิ์ จามรมาน. (2549). อีเลิร์นนิ่งระดับปริญญาผุดขึ้นมามากมาย : การศึกษาออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2548 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
Jabjai, S. (2012). kānphatthanā rūpbǣp kānsō̜n phư̄a phatthanā thatsana samatthana samrap naksưksā sākhā theknōlōyī kānsưksā mahāwitthayālai rātchaphat ʻuttara dit [A development of visual competency instructional model for educational technology students Uttaradit Rajabhat University]. Graduated School: Education. Burapha University.
สุภาภรณ์ จับจ่าย. (2554). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทัศนสมรรถนะสำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Kantunyaluk, P.(2014). “kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n bǣp phasomphasān dūai kān rīan kǣ panhā rūam kan læ theknik si na nēkti phư̄a songsœ̄m khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā chœ̄ng sāngsan khō̜ng naksưksā khrū ”[Development of a blended instructional model using collaborative problem solving learning and synectics technique to enhance creative problem solving ability of student teachers]. Veridian E-Journal, Silpakorn University 7,3 (September – December): 666-681.
ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์. (2557). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแก้ปัญหาร่วมกันและเทคนิคซินเนคติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู”. Veridian E-Journal, Silpakorn University 7,3 (กันยายน – ธันวาคม): 666-681.
Malitong, K. (1993). theknōlōyī kānsưksā rūamsamai [Contemporary Educational Technology]. Bangkok: Edison Press Products.
กิดานันท์ มลิทอง. (2536). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโพรดักส์,
Muangman, P. and Weahama,W. (2012). “kānphatthanā rūpbǣp kān rīanrū bǣp phasomphasān rāiwichā theknōlōyī krāfik læ kānphim phư̄a kānsư̄sān kānsưksā samrap naksưksā radap parinyā trī Khana Sưksāsāt mahāwitthayālai songkhlānakharin witthayākhētpattānī ” [The development of blended learning model in graphic and printing technology for educational communication course for undergraduate students, Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani campus]. Journal of Education Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 23,3 (September – December): 32-41.
พรเทพ เมืองแมน, แวฮาซัน แวหะมะ. (2555) “การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานรายวิชาเทคโนโลยีกราฟิกและการพิมพ์เพื่อการสื่อสารการศึกษา สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 23,3 (กันยายน – ธันวาคม): 32-41.
Poomas,P. (2017). kānphatthanā rabop kānsō̜n dōi chai khrōngngān pen thān phư̄a songsœ̄m kān rū sārasonthēt khō̜ng nisit parinyā trī mahāwitthayālai būraphā [Development of a project-based instructional system for enhancing information literacy of undergraduate students of Burapha University]. Graduated School: Education. Burapha University.
ภัทรพร ภูมาศ. (2560). การพัฒนาระบบการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Sai-Yod, L. and Sai-Yod, A. (1995). theknik kānwičhai thāngkān sưksā [Techniques of educational research]. Bangkok: Suviriyasan.
ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
Satitpong,P. (2017). kānphatthanā rabop kānsō̜n phūmisāt bǣp phakhwantaphāp sārap nakrīan radap matthayommasưksā tō̜n ton phāk tawanʻō̜k chīang nư̄a tō̜n lāng [A geography ubiquitous instructional system for lower secondary education in lower Northeastern Thailand]. Graduated School: Education. Burapha University.
ภูชิศ สถิตย์พงษ์. (2560). การพัฒนาระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพสาหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Sittiwong,T. (2015). “kānsưksā khwāmkhithen khō̜ng nisit thī mī tō̜ kānchai Facebook nai kān rīan kānsō̜n rāiwichā kānʻō̜kbǣp læ phalit sư̄ krāfik phư̄a kānsưksā samrap nisit radap parinyā trī sākhā theknōlōyī læ sư̄sān kānsưksā Khana Sưksāsāt mahāwitthayālai Narēsūan” [The study of undergraduate students Opinion towards the use of Facebook in Graphics Design and Production for Education in Field of Educational Communications and Technology Faculty of Education, Naresuan University]. Journal of Education Naresuan University. 17,3 (July – September): 82-88.
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2558). “การศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการใช้ Facebook ในการเรียนการสอนรายวิชาการออกแบบและผลิตสื่อกราฟิกเพื่อการศึกษา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17,3 (กรกฎาคม – กันยายน): 82-88.
Sopha, K. (2018). “kānphatthanā rūpbǣp kān rīan kānsō̜n bǣp phasomphasān phư̄a phatthanā thaksa kān patibat khō̜mphiutœ̄ krāfik sārap nakrīan chan matthayommasưksā tō̜n plāi ” [The Development Of Blended Learning Model To Develop The Computer Graphics Skills Of Senior High School Students]. Veridian E-Journal, Silpakorn University 11,1 (January – April): 87-102.
กรวิชญ์ โสภา. (2561). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติคอมพิวเตอร์กราฟิกสาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย” Veridian E-Journal, Silpakorn University 11,1 (มกราคม – เมษายน): 87-102.
Suwuttho,S. (2012). kānphatthanā mō dū lakān rīanrū bǣp thān samatthana tām nǣothāng māttrathān ʻāchīp nak theknōlōyī kānsưksā thāng kānphǣt dān ngān ʻō̜k bǣp singphim [The Development of Competency-Based Learning Module for Medical Educational Technologists on Publishing Design]. Graduated School: King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
โสภิตา สุวุฒโฑ. (2555). การพัฒนาโมดูลการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะตามแนวทางมาตรฐานอาชีพนักเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ด้านงานออกแบบสิ่งพิมพ์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ภาษาต่างประเทศ
Heinich, Robert., Molenda, Michael., & Russell, James D. (1989). Instructional Media and the New Technologies of Instruction. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons.