แนวทางการพัฒนาความร่วมมือของสหวิชาชีพในการร่วมสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน (Development of collaboration among multidisciplinary team in juvenile investigation)

Main Article Content

วิชาสิทธิ สีหตุลานนท์ (Vichasit Sihitulanont)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาข้อขัดข้องในการร่วมสอบสวนคดีเด็กและเยาวชนของสหวิชาชีพ และหาแนวทางพัฒนาความร่วมมือในการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลมี 12 คน มาจากการสัมภาษณ์ 8 คน ประกอบด้วย พนักงานสอบสวน 2 คน พนักงานอัยการ 2 คน นักจิตวิทยา 1 คน นักสังคมสงเคราะห์ 1 คน ทนายความ 2 คน มาจากการประชุมกลุ่มย่อย 4 คน ได้แก่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ นักจิตวิทยา และทนายความ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม โดยมีการจัดแบบสัมภาษณ์ แนวทางการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม แนวทางการสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีพรรณนา


               ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัญหาอุปสรรค การเข้าร่วมสอบสวนคดีเด็กและเยาวชนของสหวิชาชีพ คือการขาดแคลนบุคคลากร ด้านทนายความ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ที่ต้องผ่านการสอบ อบรม เพื่อมีใบอนุญาต (2) ปัญหาเกี่ยวกับการจำกัดประเภทคดีที่กฎหมายกำหนดทุกประเภทคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ให้ต้องมีสหวิชาชีพเข้าร่วมสอบสวน (3) สหวิชาชีพทุกสาขายังไม่เคยมีการประสานงาน หรือการจัดประชุมสัมมนาเพื่อหารือข้อขัดข้อง อุปสรรคต่าง ๆ หน้าที่หลักในการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชนจึงยังคงเป็นของพนักงานสอบสวน (4) ปัญหาระยะเวลาในการสอบสวน กฎหมายกำหนด 24 ชั่วโมง พนักงานสอบสวนมีเวลาอย่างจำกัด ในการประสานสหวิชาชีพและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ และ (5) การพัฒนาความร่วมมือสหวิชาชีพในการร่วมสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน ต้องพัฒนาแก้ไขระเบียบข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีเด็กและเยาวชนในเรื่องการสอบอบรมเพื่อรับใบอนุญาต ซึ่งจะทำให้มีบุคลากรสหวิชาชีพที่สามารถเข้าร่วมสวบสวนมีจำนวนมากขึ้น มีการจำกัดประเภทคดีที่จำเป็นต้องใช้สหวิชาชีพและควรเพิ่มระยะเวลาการสอบสวนให้มากขึ้น เพราะระยะเวลา 24 ชั่วโมงน้อยเกินไป ส่งผลให้การทำงานของสหวิชาชีพเป็นไปอย่างเร่งรีบไม่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนต้องมีการสนับสนุนงบประมาณทั้งด้านอุปกรณ์และค่าตอบแทน เพื่อให้การทำงานของสหวิชาชีพมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์แก่เด็กและเยาวชน


 


               This study aims to study difficulty of juvenile investigation among Multidisciplinary team and find the best option in developing collaboration in investigating juvenile cases. This is a qualitative research, there are 12 informants in total, 8 out of 12 are interviewees which consist of 2 investigators, 2 public prosecutors, 1 psychologist, 1 social worker, and 2 law consultants. The rest (4 out of 12) which information come from group meeting, consist of investigator, public prosecutor, psychologist, and law consultant. The tool used to gather information are interviewing and group meeting. There are interviewing, group discussion and descriptive analysis method used in research.


               After a research, we found out that (1) Difficulty in juvenile investigation among multidisciplinary team is lack of human resource, because all related career in this kind of work such as law consultants, psychologists, social workers that licenses are needed. (2) Problem in having all imprisonment cases in responsibility of multidisciplinary team. (3) Multidisciplinary team have never discussed difficulty in work, so the juvenile investigation is still remained a main job of police investigators.(4)Time duration of juvenile investigation problem, law says that police investigator has 24 hours which is quite a very limited time in cooperating with multidisciplinary team and (5) Development of cooperation among multidisciplinary team in investigating juvenile case, there has to be a development in increasing human resource, limitation of type of crimes that need multidisciplinary team, 24-hour investigating time is too short to make finish all the processes efficiently, there should be more support on tool and remuneration budget given to multidisciplinary team so that work proceeded by multidisciplinary team is more effective and beneficial to juvenile.


 

Article Details

Section
Humanities, Social Sciences, and Arts