ผลการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ ฉะเชิงเทรา

Main Article Content

ศรัณย์รัชต์ บุญญานุรักษ์
อนิรุทธ์ สติมั่น

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๓ ฉะเชิงเทรา จำนวน 40 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)


               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ 3) บทเรียน
อีเลิร์นนิง เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
(t-test แบบ Dependent)


               ผลการวิจัยพบว่า


               1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบผสมผสานด้วยวิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.49, S.D. = 0.62)


 


               The purposes of this research were 1) compare analytical thinking ability between students who studied by blended learning using inquiry-based teaching methods on data and information lesson pre-test and post-test 2) compare learning achievements between students who studied by blended learning using inquiry-based teaching methods on data and information lesson pre-test and post-test 3) study students’ satisfaction about blended learning by using inquiry-based teaching methods on data and information lesson. The sampling in this research were composed of 40 students from matthayomsuksa 1/1 students during the first semester of academic year 2017 of Matthayom Siriwanwari ๓ Chachoengsao School, by simple random sampling.


               The instruments of this research were 1) Structured interview form 2) Blended learning education plan by using the inquiry-based teaching method on data and information lesson 3) e-learning system on data and information lesson 4) Analytical thinking ability test form on data and information lesson 5) Learning achievement test form on data and information lesson 6) Students satisfaction questionnaire.  Data analysis statistics consisted of mean, standard deviation and t-test statistics.


               The result of this research were as follow:


  1. The post-test analytical thinking ability of students who used blended learning with inquiry-based teaching methods on data and information were higher than the pre-test scores with statistical significance at .05 level.

  2. The learning achievements of students who used blended learning with inquiry-based teaching methods on data and information lesson were post-test scores higher than pre-test scores with statistical significance at .05 level.

  3. The students satisfaction of the studied blended learning by inquiry-based teaching methods on data and information lesson had a high level (gif.latex?\bar{x}= 4.49, S.D. = 0.62)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ