ผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะ วิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

Main Article Content

สุภาวดี พูลสวัสดิ์
อนิรุทธ์ สติมั่น

Abstract

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะ วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดไทย  2)  เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะ วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดไทย  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดไทย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อใช้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องมาตราตัวสะกดไทย และด้านการออกแบบบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะ  2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2   3)บทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดไทย  4)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดไทย  5)  แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดไทย   6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกดไทย  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test)  แบบ dependent


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ความสามารถในการอ่านของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบชี้แนะวิชาภาษาไทย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.17  โดยใช้เกณฑ์การประเมิน 3 ระดับ

             The purpose of this research were 1) to compare learning achievement pretest and posttest of students who studied computer multimedia lesson on mobile device by using direct instruction activities on Thai language subject. 2) to compare reading ability score pretest and posttest of students who studied computer multimedia lesson on mobile device by using direct instruction activities on Thai language subject. 3) to study the students’ satisfaction on the computer multimedia lesson on mobile device by using direct instruction activities on Thai language subject. The research sampling group was 21 students primary school grade 2 of Bannongree School Petchuburi Province second semester of 2016 academic year by sample random sampling.


             The instruments for this research were 1) the structure interview for content experts and computer multimedia experts 2) the lesson plans  for on mobile device by using direct instruction activities on Thai language.  3) the computer multimedia lesson on mobile device by using direct instruction activities on Thai language subject. 4) the leaning achievement test 5) the evaluation form for reading ability of Thai language.6) the students satisfaction evaluation form. Data analysis statistics consisted of mean, standard deviation and t-test statistics.


               The results of  this  research were as follows ;


  1. The students learning achievement who studied by computer multimedia lesson on mobile device by using direct instruction activities on Thai language posttest higher than pretest was significantly at .05 level

  2. The students reading ability of Thai language score who studied by mobile device by using direct instruction activities on Thai language of primary school grade 2 posttest higher than pretest was significantly at .05 level

  3. The students’ satisfaction studied with computer multimedia lesson on mobile device by using direct instruction activities on Thai language of primary school grade 2, was high satisfied (gif.latex?\bar{x} =2.88, S.D.=0.17) three level assessment criteria.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ