ผลการจัดการเรียนการสอนด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา การออกแบบสื่อการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ศิริมาตย์ อินทร์ตามา

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคะแนนความสามารถการแก้ปัญหาการออกแบบสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้น 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการเรียนการสอนด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้น ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี 3) เพื่อประเมินผลงานการออกแบบสื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วย  อีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้น 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 38 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา 3) บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้น 4) แบบประเมินการแก้ปัญหาการออกแบบสื่อการศึกษา 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบประเมินผลงานการออกแบบสื่อการศึกษา และ 7) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent

               ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถการแก้ปัญหาการออกแบบสื่อประเภทคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้น อยู่ในระดับดี (= 2.02, S.D. = 0.73) 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการเรียนการสอนด้วยอีเลิร์น นิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้นพบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลงานการออกแบบสื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้น อยู่ในระดับดี ( = 3.10, S.D. = 0.66) 4) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อการเรียนด้วยอีเลิร์นนิงแบบกรณีศึกษา วิชาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเบื้องต้น อยู่ในระดับดี ( = 4.06, S.D. = 0.92) 

 

Abstract

               The purposes of this research were: 1) to study the student’s abilities in problem solving of instructional media design 2) to compare pretest and posttest of learning achievement on e-learning by case-based learning activities 3) to evaluation students learning performance that learned e-learning by case-based learning and 4) to study students opinion on learned e-learning by case-based learning. The subjects were 38 students on bachelor in Educational Technology Department Faculty of Education Silpakorn University in second semester of academic year 2012 by samples random sampling.

               The instruments in this research were: 1) a structure interview 2) lesson plan of
e-Leaning by case-based learning 3) e-learning system on case-based learning activities 
4) problem solving educational media design evaluation form 5) the achievement test 
6) educational media evaluation form and 7) questionnaire form on students opinion. The data analysis were mean (), standard deviation (S.D.) and t-test dependent

               The results of this research were as follow:

               1.  The student’s abilities in problem solving of instructional media design were good level. ( = 2.02, S.D. = 0.73)

               2.  Posttest of the learning achievement of e-learning by case-based learning activities was higher than pretest at .01 level of significance.

               3.  The student’s performance instructional media design by case-based learning activities was good level. ( = 3.10, S.D. = 0.66)

               4.  The student’s opinion has high level positive toward the e-learning by case-based learning activities. ( = 4.06, S.D. = 0.92)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ