ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ในชั้นเรียนที่ใช้การสอนด้วยวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

ธวัตรชัย เดนชา
เกียรติ แสงอรุณ
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
สมควร สีชมภู

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและนำเสนอข้อมูลแบบบรรยายเชิงวิเคราะห์ วัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ในชั้นเรียนที่ใช้การสอนด้วยวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/15 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 6 คน (3 คู่) ผู้วิจัยจัดการเรียนการสอนตาม 4 ขั้นตอนของวิธีการเปิดตามแนวคิดของ Inprasitha (2010) จากการสอนในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เลขยกกำลัง จำนวน 6 แผน 6 ชั่วโมง ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในชั้นเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ แบบสำรวจระดับความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ ผลงานนักเรียน และการสัมภาษณ์นักเรียน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โพรโทคอล (Protocol Analysis) โดยอาศัยกรอบ APOS Theory ของ Dubinsky & McDonald (2001) มาใช้ในการดำเนินการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูล

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด นักเรียนมีความเข้าใจในระดับการ    จัดกระทำและระดับกระบวนการ 2) ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน นักเรียนมีความเข้าใจในระดับการ    จัดกระทำ ระดับกระบวนการ และระดับวัตถุ 3) ขั้นการอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดร่วมกันทั้งชั้นเรียน นักเรียนมีความเข้าใจในระดับกระบวนการและระดับวัตถุ 4) ขั้นการสรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่

เกิดขึ้นในชั้นเรียน นักเรียนสามารถเชื่อมโยง ระดับกระบวนการ และความเข้าใจในระดับวัตถุ ให้เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเชิงการรู้ได้ นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังพบว่าชั้นเรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ใช้การสอนด้วยวิธีการแบบเปิดทำให้ครูมีวิธีการและแนวทาง “How to” เข้าถึงความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้อย่างใกล้ชิด สอดคล้องกับแนวคิดของ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ( 2557)

 

คำสำคัญ: ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน วิธีการแบบเปิด เลขยกกำลัง

 

Abstract

            This study was using the qualitative research method and present descriptive data analysis. The aim was to exploration of students’ mathematical understanding levels on exponent in classroom using open approach. The target group were 6 (3 pairs) Mathayomsuksa 4/15 students from Phadungnaree School Muang-District, Mahasarakham Province during the 2014 year. The lessons were taught by following 4 steps the Open Approach of Inprasitha (2010), from teaching in subject on exponent 6 plans 6 hours. The data were collected by using lesson plans, observation form, videorecorders, students’ written works and student interviews. The data were analyzed by using protocol analysis by APOS Theory of Dubinsky and McDonald (2001) was used as a framework of the study.

            The results showed that: 1) Posing open-ended problem, students have an understanding of Action level and Process level 2) Students’ self learning students have an understanding of Action level, Process level and some student can demonstrate an understanding of Object level 3) Whole class discussion and comparison, students have an understanding of Process level and some student can demonstrate an understanding of Object level and 4) Summing-up by connecting students’ emergent mathematical ideas, students can connecting to understanding of Process level and Object level the grant is part of Schema. Furthermore, the research also found that mathematics classes in high school used to teach with an open approach, relate to teachers' have methods and approaches "How to" reach an understanding mathematical students closely consistent with the idea of Maitree Inprasitha (2014).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ