การศึกษาความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC

Main Article Content

เพชรรัตน์ ยุรี

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนวัดแสมดำ สังกัดสำนักงานเขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่มได้ 1 ห้องเรียน ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น         8 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC 2) แบบทดสอบการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test  แบบ dependent

               ผลการวิจัยพบว่า

               1)  ความสามารถด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               2)  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ในภาพรวมพบว่านักเรียนเห็นด้วยในระดับมาก

 

Abstract

            The objectives of this research were 1) to compare creative writing ability of fifth grade students before and after learning by the CIRC cooperative technique and, 2) to study opinions of the fifth grade students towards management of learning the CIRC cooperative technique. The sample used in the study were the fifth grade students of Watsamaedam School during the second semester of the academic year 2014. Thirty-two students were randomly selected by using the classroom as a unit. For 4 weeks, 2 periods per week were used totaling 8 periods.

            The tools used in the research consisted of 1) lesson plan for learning using the CIRC cooperative technique. 2) a test of creative writing ability, and 3) a questionnaires inquiring students opinions towards learning the CIRC cooperative technique. The collected data were analyzed by mean ( ) and standard deviation (S.D.), t-test dependent analysis.

The research findings were as follows :

            1)  The creative writing ability of fifth grade students after using the CIRC cooperative technique was significantly higher than before at the  .05 level.

            2)  The opinions of fifth grade students towards learning the CIRC cooperative technique were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ