การศึกษาความสามารถการอ่านวิเคราะห์บันเทิงคดีร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-PLUS

Main Article Content

จุฑาทิพย์ อินทร์ช่วย

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการอ่านวิเคราะห์บันเทิงคดีร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-PLUS  (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-PLUS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี 1  ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม แบบการทดลองใช้แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนและหลังเรียนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านวิเคราะห์บันเทิงคดีร้อยแก้ว 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านวิเคราะห์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-PLUS  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที(t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(Dependent)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.  ความสามารถทางการอ่านวิเคราะห์บันเทิงคดีร้อยแก้วของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-PLUS  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

                2.  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1 มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL-PLUS  โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

คำสำคัญ: การอ่านวิเคราะห์  บันเทิงคดีร้อยแก้ว เทคนิค KWL-PLUS  

 

Abstract

            This research aimed to  1)  compare learning with the critical reading ability on fiction prose of Mathayomsuksa 1 students before and after implementation using KWL-PLUS technique, and 2)  study the opinion of Mathayomsuksa 1 students in critical reading ability on fiction prose by KWL-PLUS technique. A sample group of this research was Mathayomsuksa 1, Smakomlakhanukarnsatri 1 School, Bangsapan, Prachuap Khiri Khan, Province second semester, academic year 2014.

            The research instruments consisted of 1) the lesson plans by using critical reading ability  on fiction prose using KWL-PLUS technique 2) the achievement test to measure critical reading ability on fiction prose, and    3) the student s’  questionnaire to investigate students satification on new technigue learning. The satistics used to analyze the data were means (), standard devation (S.D.), percentage and independent t-test.

            The research found that:

                1.  The learning achievement of the critical reading ability on fiction prose of Mathayomsuksa 1 students after experiment than before experiment with statistically significant at .01 levels.

                2.  Mathayomsuksa 1 student s’ opinion towards new learning technique. Showed  high rating which means students satisfied the new learning technique learning.

 

Keywords: The  critical  reading /Fiction.Prose/ KWL-PLUS Technique 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ