การกำหนดอายุและแบบของพระพุทธรูปบุทอง – บุเงิน ที่พบบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในประเทศไทย

Main Article Content

ทรัพย์อนันต์ ซื่อสัตย์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพระพุทธรูปบุทอง – บุเงินบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่มีจารึกระบุศักราชบนฐาน เพื่อนำไปสู่การกำหนดอายุและแบบของพระพุทธรูปบุทอง – บุเงิน การวิจัยมี        3 ระยะ คือ 1 รวบรวมข้อมูลเอกสารและศึกษาข้อมูล 2 การสำรวจ และ 3 การวิเคราะห์และสรุปผล

               ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธรูปบุทอง – บุเงินมีอายุระหว่างช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 – 23 กล่าวคือในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 พระพุทธรูปมีจำนวนน้อยและมีลวดลายเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 เริ่มปรากฏลวดลายใหม่ และมีลวดลายเพิ่มมากขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 ทั้งด้านปริมาณและความซับซ้อนของลวดลาย

               พระพุทธรูปบุทอง – บุเงินสามารถจำแนกพระพุทธรูปตามลวดลายบนฐานพระพุทธรูปได้ 5 แบบ คือ  1.ฐานลายกลีบบัวคว่ำ – บัวหงาย 2.ฐานลายบัวประกอบ 3.ฐานลายเรขาคณิต 4.ฐานลายบัวคว่ำหรือบัวหงายเพียงอย่างเดียว และ 5.ฐานเรียบไม่มีลวดลาย

 

Abstract

               The purpose of the research is to study the gilded and silver Buddha images with a dating inscription on the pedestal found in the upper North–eastern part of Thailand in order to identify them with different shapes and designs. The research was undertaken in three steps: (i) literature reviewing of written document, (ii) archaeological survey, and (iii) analysis of the data and conclusion.

               The gilded and silver Buddha images date back to the 16th – 18th century A.D.. In the period of 16th century A.D. the Buddha images with a simple design were found lesser than those of the later periods; that is to say, in the 17th century A.D. a good deal of  new designs of the Buddha images were made. Then were any amount of gilded and silver images of various designs that were produced in the 18th century A.D.

               The gilded and silver Buddha images are identifiable by certain design on the pedestal as follows: (1) lotus flower motifs (2) pseudo-lotus flower motifs (3) geometric motifs (4) semi lotus flower motifs and (5) plain. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ