การเตรียมตัวเพื่อการเกษียณอายุของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ปิยะดา พิศาลบุตร

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) ความรู้ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่มีต่อการเตรียมตัวเพื่อการเกษียณอายุ 2) สภาวะการเตรียมตัวเกษียณอายุในเรื่องที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจ สุขภาพ การใช้เวลาว่าง และการยอมรับของครอบครัว 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเตรียมตัวเกษียณอายุแก่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเพื่อจัดเตรียมแนวทางเตรียมตัวให้แก่บุคลากรของมสธ.

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่พนักงานสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 6 คน และเลือกตัวอย่างโดยวิธีการเจาะจงตามลักษณะที่กำหนดไว้ เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นเกี่ยวกับการเตรียมตัวเกษียณอายุด้านที่อยู่อาศัย งบประมาณ สุขภาพและการใช้เวลาว่าง โดยมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้ คือ 1) ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) กำหนดกรอบของประเด็นที่จะใช้ในการสนทนากลุ่ม 3) กำหนดคุณสมบัติของกลุ่มตัวอย่างที่เลือกมาในการสนทนากลุ่ม 4) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม 5) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปผลการสนทนากลุ่ม

            ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรเกือบทั้งหมดมีความรู้ดีต่อการเตรียมตัวหลังเกษียณอายุ มีบุคลากรเพียงส่วนน้อยที่ครอบครัวมีฐานะดี ไม่เห็นความจำเป็นในการเตรียมตัว 2) บุคลากรมีสภาวะการเตรียมตัวค่อนข้างดีในทุกๆด้าน คือ ด้านที่อยู่อาศัย งบประมาณ การใช้เวลาว่างและด้านสุขภาพ และได้มีการจัดระดับปัญหาในด้านต่างๆ พบว่า ด้านที่อยู่อาศัยมีปัญหาค่อนข้างน้อย และมีปัญหาด้านสุขภาพค่อนข้างมาก 3) ข้อเสนอแนะที่กลุ่มสนทนาเสนอให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชดำเนินการคือ จัดทำคู่มือการเตรียมตัวเกษียณอายุ โครงการอบรมวิชาชีพเพื่อเป็นอาชีพเสริม โครงการจ้างงานบุคลากรหลังเกษียณอายุ โครงการกีฬาเพื่อสุขภาพและจัดตั้งชมรมผู้เกษียณอายุ

              

คำสำคัญ :  การเตรียมตัวเพื่อการเกษียณอายุ บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช            

 

 

Abstract

               The objectives of this research were to 1) study the STOU. supporting personnel’s knowledges in preparing for retirement 2) study the preparation  for retirement in terms of housing, expense and income, health care and spending leisure time 3) propose the roles for STOU. administrators in STOU. personnel retirement.

               This research was a qualitative research. It’s key informants were STOU. supporting personel. It’s sampling unit was selected purposively. Research methodology was composed of 5 steps which were 1) reviewed literature 2) set up the contents for group discussion 3) determined the characteristics of the sample unit for group discussion  4) collected data by focus group 5) analyzed the data and concluding the discussion.

               The result of the study showed that 1) most of the STOU. supporting personnel had  good  knowledge in preparing for retirement 2) most of them had a good preparation in regards to housing, budgeting and spending theirs leisure’s time. In ranking the problems, housing were the lowest rank, while health care were highest rank respectively 3) the suggestions for Sukhothai Thammathirat Open University administrators were to set up the programs in making the guideline for preparation retirement, vocational training, hiring retired personnel, healthy sport club and club for retired personnel.

 

Keywords : Preparation for Retirement, Supporting personnel, Sukhothai Thammathirat Open University

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ