ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรกับความสุขในการทำงาน ของพนักงาน กรณีศึกษาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ภัทราพรรณ แซ่ตั้ง
ประสพชัย พสุนนท์

Abstract

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 2) เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของพนักงาน 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรกับความสุขในการทำงานของพนักงาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่อยู่ในเขตหนองแขม จำนวน 129 คน การสุ่มตัวอย่างเป็นแบบกลุ่มและใช้วิธีทางสถิติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวน สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 21-30 การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด มีรายได้มากกว่า 40,000 บาทต่อเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงานระหว่าง 1-10 ปี ระดับตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ โดยไม่มีบุตร ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-20,000 บาท ภาระหนี้สินจำนวน ไม่เกิน 100,000 บาท ไม่มีคู่สมรสหรือไม่ทำงาน 2) พนักงานมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์กรและมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก 3) พนักงานส่วนใหญ่มีระดับความสุขอยู่ในเกณฑ์สุขภาพจิตเท่ากับคนทั่วไป 4) พนักงานที่มีอายุ ระดับตำแหน่ง รายได้ของครอบครัวและระยะเวลาการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นความแตกต่างกันในด้านการเปลี่ยนแปลงองค์กรและด้านความผูกพันต่อองค์กร 5) พนักงานที่มีอายุ และระดับตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันในด้านความสุขในการทำงานของพนักงาน 6) การเปลี่ยนแปลงองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของพนักงาน ในระดับปานกลาง 7) ความผูกพันต่อองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขในการทำงานของพนักงานระดับปานกลาง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

 

คำสำคัญ :  การเปลี่ยนแปลงองค์กร, ความผูกพันต่อองค์กร, ความสุขในการทำงาน

 

Abstract

            The purposes of this research are 1) to study the opinions of organizational change and employee engagement 2) to study employees’ happiness in the workplace 3) to compare the opinions of the organizational change and employee engagement by personal factors 4) to compare employees’ happiness in the workplace by personal factors 5) to study the relationship between organizational change, employee engagement and employees’ happiness in the workplace. This research is a quantitative research by using questionnaire in collecting data from 129 employees of Krung Thai Bank Public Company Limited, Nong Khaem Branch. Sampling method used is cluster sampling. Statistical methods used are divided into 2 categories which are Descriptive Statistics including Frequency, Percentage, Mean and Standard Deviation and Inferential Statistics including t-test, F-test and Pearson Correlation.

            The result found that 1) Most of the sample was female age of 21-30 years with bachelor degree; status was single, working time 1-10 years, position was officer level, no children, cost per month 10,001-20,000 baht, liabilities less than 100,000 baht and no spouse or not working 2) employee has opinion about organizational change and employee engagement in the level high 3) organizational change has a positive relationship with employees’ happiness in the workplace in the level moderate 4) the difference in age, working time, position level and liabilities result in different of the opinion organizational change and employee engagement 5) the difference in age and position level result in different of the employees’ happiness in the workplace 6) employee engagement has a positive relationship with employees’ happiness in the workplace in the level moderate 7) employee engagement has a positive relationship with employees’ happiness in the workplace in the level moderate with the Significance level of 0.05.

 

Keywords: Organizational Change, Employee Engagement, Happiness in workplace

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ