ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของเกษตรกรกับการพัฒนาการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

รัฐพงษ์ จันทคณานุรักษ์
ศุภพร ไทยภักดี
พันธ์จิตต์ สีเหนี่ยง

Abstract

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลด้านเศรษฐกิจของเกษตรกร และ 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ จากกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างจำนวน 92 ราย โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมถึงใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)  และวิเคราะห์ค่าพหุคูณถดถอย (Multiple Regression Analysis) ผลวิจัย พบว่า เกษตรกรมีปัญหาภาระหนี้สินที่ส่วนใหญ่เกิดจากภาคการเกษตร ซึ่งมีจำนวนภาระหนี้สินที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับรายได้ และเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีการออมเงิน รวมถึงรูปแบบการจำหน่ายผลผลิตส่วนใหญ่ที่ยังคงขาดการรวมกลุ่มเพื่อขายผลผลิต ซึ่งราคา รับซื้อผลผลิตถูกกำหนดโดยผู้รับซื้อผลผลิต และเกษตรกรไม่มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเกษตร พบว่า จำนวนพื้นที่เช่า รูปแบบการชำระค่าเช่า และอัตราค่าเช่า เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเกษตร ที่ระดับนัยสำคัญ .05 รวมถึง ภาระหนี้สินภาคเกษตร และการดำเนินกิจกรรมอันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของ ส.ป.ก. เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเกษตร ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ดังนั้นข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยดังกล่าว ได้แก่ การแก้ไขปัญหา หรือบรรเทาปัญหาสภาวะหนี้สินของเกษตรกร เพื่อให้การพัฒนาต่างๆ สามารถดำเนินต่อไปได้ พร้อมทั้งให้ความรู้ในด้านการบริหาร

จัดการต้นทุนทางเศรษฐกิจในการทำการเกษตรและนอกภาคเกษตร รวมทั้งแนวทางในการจำหน่ายและจัดการกับผลผลิตอย่างเหมาะสม

คำสำคัญ: ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การพัฒนา ปฏิรูปที่ดิน การเกษตร บุรีรัมย์

 

Abstracts

            The objectives of this research were to examine 1) Farmers’ economic data and 2) Economic factors effecting on agricultural development in Land Reform Area Lam Nang Rong sub-district, Non Din Daeng district, Burirum province.  The samples were 92 farmers selected by using multi-stage sampling.  The tool for data collecting was schedule questionnaires by using an interview method and observation.  The descriptive statistics and multiple regression analysis were used for data analysis.  The study found that farmers had debt caused mainly from agricultural sector which was a heavy burden when comparing with income. Most of the farmers did not have money savings. They lacked of aggregation to sell their product and usually sold it without processing.  Most of the time, purchasing price was determined by buyers.  Economic factors that significantly effecting on agricultural development at .05 level were: a number of rental area, payment patterns, and rental rates. Whereas agricultural sector debt and activities that promoting and supporting the implementation of Agricultural Land Reform Office had significantly effecting on agricultural development at  .05 level. Therefore, the research suggestions were: solving or alleviating farmer’s debt should be done in order to continuing various developments. Moreover, knowledge on management economic costs and produce distribution and management must be provided appropriately.

Key words: economic factors, development, land reform, agricultural, Burirum 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ