การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

วีรวัฒน์ ยอดมั่น

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม 3) เพื่อศึกษาผลงานจิตรกรรมของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 5 จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบวิธีการสุ่ม cluster random sampling (วิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม  3) ผลงานจิตรกรรมของนักเรียนหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม       ผลการวิจัยพบว่า

            1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) สูงกว่าเกณฑ์คือ 86.19/91.44

         2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม โดยผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 16.40 และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 27.43 และค่า t- test เท่ากับ 41.01 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

         3.  ผลระดับคะแนนของผลงานจิตรกรรมของนักเรียน หลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม จำนวน 30 คน ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก        ( = 10.26, S.D. = 0.55) จากคะแนนเต็ม 12 คะแนน 

          4.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.39, S.D. = 0.58)

 

คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน / ทฤษฎีสีเพื่อการเรียนรู้ศิลปะประเภทจิตรกรรม / นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

 

Abstract

               This research aims 1) to study and develop the computer assisted instruction of validate the efficiency of art in color theory of painting, 2) to compare the students’ learning achievement before and after using the computer assisted instruction on the topic of color theory of painting, 3) to study the progress of the students on their visual art work after using the computer assisted instruction, and 4) to study the satisfaction of students toward the computer assisted instruction of art in color theory of painting. The experimental group consisted of 30 students in secondary school students of Banharnjamsaiwittaya 5 School, Suphanburi. The study was in the first semester, academic year 2015 and selected by cluster random sampling. The instruments of this study were 1) computer assisted instruction lesson for secondary school students, 2) learning achievement tests from computer assisted instruction, 3) the progress of the students on their visual art work, and 4) questionnaire on satisfaction of students toward the computer assisted instruction of art in color theory of painting.

               The results of this study were:

               1.  The efficiency of the computer assisted instruction of art in color theory of painting standard on raising layers was 86.19/91.44 which higher than the set criteria requirement.

               2.  The students’ achievement after using the computer assisted instruction was statistically significant at 0.05 level of confidence which than before.

               3.   The scores of the students’ visual art work after using the computer assisted instruction were at the very high level ( = 10.26, S.D. = 0.55).

               4.  The students’ satisfaction towards the computer assisted instruction of art in color theory of painting was at the highest level ( = 4.39, S.D. = 0.58).

 

Keywords:    computer-assisted instruction/color theory of painting / upper secondary students

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ