ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการบริโภคกาแฟ ของร้านกาแฟสตาร์บัคส์ และร้านทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์

Main Article Content

หนึ่งฤทัย เซี่ยงฉิน
ประสพชัย พสุนนท์

Abstract

บทคัดย่อ

               งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคร้านกาแฟสตาร์บัคส์ และร้านกาแฟทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์ 2.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคกาแฟของผู้บริโภคร้านกาแฟสตาร์บัคส์ และร้านกาแฟทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์ และ 3.เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และพฤติกรรมการบริโภคกาแฟระหว่างผู้บริโภคกาแฟสตาร์บัคส์ กับผู้บริโภคกาแฟทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้บริโภคกาแฟสตาร์บัคส์ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์ จำนวน 200 คน และผู้บริโภคกาแฟทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์ จำนวน 200 คน รวม 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม (ค่าสถิติ Independent t-test)

               ผลการศึกษาจากร้านสตาร์บัคส์ พบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21–30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 บาทขึ้นไป 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในการเข้าใช้บริการร้านกาแฟ มีความสำคัญในระดับมาก 3) พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของผู้บริโภค มีความคิดเห็นเห็นด้วย

            ผลการศึกษาจากร้านทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ พบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21–30 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพเจ้าของกิจการหรือธุรกิจส่วนตัว รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 บาทขึ้นไป 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคในการเข้าใช้บริการร้านกาแฟ      มีความสำคัญในระดับมาก 3) พฤติกรรมการบริโภคกาแฟของผู้บริโภค มีความคิดเห็นเห็นด้วย

               ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดระหว่างผู้บริโภคกาแฟสตาร์บัคส์ กับผู้บริโภคกาแฟทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์แตกต่างกัน 2) พฤติกรรมการบริโภคกาแฟระหว่างผู้บริโภคกาแฟสตาร์บัคส์ กับผู้บริโภคกาแฟทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ สาขาวิคตอเรีย การ์เด้นส์แตกต่างกัน   ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

 

คำสำคัญ : พฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด สตาร์บัคส์ ร้านกาแฟ

 

Abstract

               The purposes of this quantitative research were to study marketing mix factors and consumer behavior of Starbucks coffee and Tom n Toms coffee Victoria Gardens branch also to compare the differences between the marketing mix factors and consumer behavior at Starbucks coffee and Tom n Toms coffee Victoria Gardens branch. The samples were 400 Starbucks and Tom n Toms coffee Victoria Gardens branch’s consumer 200 each. Moreover, questionnaires were used as research tool to collect data and then they were analyzed by conducting frequency, percentage, mean, standard deviation and the Independent two-sample t-test for equal means.

               The results from Starbucks coffee were shown as follows; 1) Most of Consumer’s  were female at the age of 21-30, single, graduated a Bachelor’s degree, and worked as government employee/state enterprise officer and their average income were 30,001 baht or higher. 2) The level of marketing mix factors was generally high and 3) The attitude level of consumer behavior was generally agree.

               The results from Tom n Toms coffee were shown as follows; 1) Most of Consumer’s were female at the age of 21-30, single, graduated a Bachelor’s degree, and worked as business owner and their average income were 30,001 baht or higher. 2) The level of marketing mix factors was generally high and 3) The attitude level of consumer behavior was generally agree.

               The result of hypothesis test found that 1) The marketing mix factors between Starbucks and Tom n Toms coffee Victoria Gardens branch was generally different 2) The consumer behavior factors between Starbucks and Tom n Toms coffee Victoria Gardens branch was generally different with a 0.05 level of significance.

 

Keywords : Consumer behavior, Marketing-mix factors, Starbucks, Coffee shop

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ