ผลการใช้บทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหา วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน และ 5)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียน บ้านเขาฝ้าย จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) สื่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 4)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 มีประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ เท่ากับ 73.65/72.35 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 70/70
2) ผลการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหา วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 6.10)
3) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t = 9.70)
4) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์แตกต่างกัน พบว่า นักเรียนกลุ่มต่ำมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเพิ่มเมื่อเปรียบเทียบกับนักเรียน ในกลุ่มอื่น ๆ
5) ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดียแบบแก้ปัญหา เรื่อง โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ระดับความพึงพอใจทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.40, S.D. = 0.64 )
Abstract
The purposes of this research were: 1) develop the problem solving multimedia lesson for Prathomsuksa 5 students in the order to efficiency according to 70/70 criteria. 2) to compare pretest and posttest of learning achievement of Prathomsuksa 5 students by using problem solving multimedia lesson on the abilities of mathematics problem solving of Prathomsuksa 5 students. 3) to compare mathematics problem solving abilities of Prathomsuksa 5 students by using problem solving multimedia lesson on the abilities of mathematics problem solving of Prathomsuksa 5 students. 4) to compare posttest of the ability of mathematics problem solving of Prathomsuksa 5 students with different ability of mathematics. And 5) evaluate satisfaction of students by using problem solving multimedia lesson on the abilities of mathematics problem solving of Prathomsuksa 5 students. The sample consisted of 30 students of Prathomsuksa 5 students during the academic year 2014 of Bankhaofay School.
The instruments of this research were: 1) a structure interview 2) the problem solving multimedia lesson for Prathomsuksa 5 students 3) a lesson plan of the problem solving multimedia lesson for Prathomsuksa 5 students 4) the achievement 5) the abilities of mathematics problem solving test and 6) the students satisfaction questionnaire. The data analysis were percentage (%), mean ( ), standard deviation (S.D.) and t-test Dependent Samples.
The results of this research were as follows:
1. The problem solving multimedia lesson for Prathomsuksa 5 students was efficiency 73.65/72.35.
2. Learning achievement of Prathomsuksa 5 students by using problem solving multimedia lesson on the abilities of mathematics problem solving post-test higher than pre-test with statistically significant difference at 0.01 levels. (t = 6.10)
3. The abilities of mathematics problem solving of Prathomsuksa 5 students by using problem solving multimedia lesson on the abilities of mathematics problem solving post-test higher than pre-test with statistically significant difference at 0.01 levels. (t = 9.70)
4. The abilities of mathematics problem solving of Prathomsuksa 5 students with different ability of mathematics by using problem solving multimedia lesson it found that the students from the low group had ability problem solving of mathematics as good
5. Satisfaction of Prathomsuksa 5 students towards learning by using problem solving multimedia lesson as medium ( = 2.40, S.D. = 0.64 )