การทำนายผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ

Main Article Content

จิรภา คำทา

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยรวมและในแต่ละด้าน และ 2) สร้างสมการถดถอยโลจิสติกในการทำนายผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2557 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่     ค่าร้อยละ การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.  นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติ ด้านเจตคติต่อการเรียนวิชาสถิติ ด้านพฤติกรรมในการเรียนวิชาสถิติ ด้านสื่อการเรียนการสอนวิชาสถิติ และด้านบรรยากาศในการเรียนการสอนวิชาสถิติไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านการส่งเสริมการเรียนจากผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

            2.  นักศึกษาที่จบแผนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษาที่จบแผนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติ ด้านเจตคติต่อการเรียนวิชาสถิติ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และด้านพฤติกรรมในการเรียนวิชาสถิติ ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านเทคนิควิธีการสอนของอาจารย์ ด้านสื่อการเรียนการสอนวิชาสถิติ ด้านบรรยากาศในการเรียนการสอนวิชาสถิติ และด้านการส่งเสริมการเรียนจากผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               3.  นักศึกษาที่ศึกษาในคณะต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยรวมและในแต่ละด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

               4.  ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก พบว่า ตัวแปรที่สามารถทำนายผลการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่นคือ เกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Motivation) และการส่งเสริมการเรียนจากผู้ปกครอง (Supporting) ซึ่งตัวแปรทำนายทั้ง 3 ตัว สามารถร่วมกันอธิบายผลการสอบวิชาสถิติได้ถูกต้องร้อยละ 47.9 สามารถสร้างสมการถดถอยโลจิสติกในการทำนายผลการสอบวิชาสถิติ ดังนี้  P (Y) =    -10.63 + 3.24GPAX + 1.02Motivation + 0.67Supporting

Abstract

               The objectives of this research were to: 1) compare the opinions of the students towards the factors affecting statistics learning achievement for undergraduate students of Thai-Nichi Institute of Technology as perceived by students in overall and each aspects, and 2) create logistic regression equation to predict failure or success of statistics achievement of undergraduate students of Thai-Nichi Institute of Technology. The samples for the study were 260 undergraduate students of Thai-Nichi Institute of Technology in the academic year of 2014. The questionnaire was applied to collect the data. The data had been analyzed by applying statistics method of frequency, percentage, t-test, one-way analysis of variance., and logistic regression analysis.

               The research findings revealed as follows:

               1.  There was no significant difference in the opinions toward the factors affecting statistics learning achievement in overall for undergraduate students of Thai-Nichi Institute of Technology among males and females. When considering in each aspect, it was found that there was no significant difference in the opinions toward the factors affecting statistics learning achievement, in the aspect of attitudes toward statistics, behaviors in the classroom, instruction media, and learning atmosphere. Regarding the achievements motivation and promoting learning from their parents indicated a statistically significant difference at the level of .05. Referring to the teaching methods showed a statistically significant difference at the level of .01.

               2.  There was a statistically significant difference of the opinions toward the factors affecting statistics learning achievement in overall at the level of .01 among students with different education program. When considering in each aspect, it was found that there was no significant difference in the opinions toward the factors affecting statistics learning achievement, in the aspect of attitudes toward statistics, achievements motivation, and behaviors in the classroom.  According to the teaching methods, instruction media, learning atmosphere, and promoting learning from their parents indicated a statistically significant difference at the level of .01.

               3.  There was a statistically significant difference in the opinions toward the factors affecting statistics learning achievement both in overall and each aspect at the level of .01 for undergraduate students of Thai-Nichi Institute of Technology among students with different faculties of study.

                4.  The logistic regression analysis showed that the variables which predict failure or success of statistics achievement of undergraduate students of Thai-Nichi Institute of Technology were the GPAX, the achievements motivation, and the promoting learning from their parents. The predictability of the aforementioned independent variables accounted for 47.9 percent. The logistic regression equation which was discovered was P (Y) = -10.63 + 3.24GPAX + 1.02Motivation + 0.67Supporting

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ