แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ประพล เปรมทองสุข
จิรวุฒิ หลอมประโคน
อกนิษฐ์ กุลสุนทร
จิตรเสน เอื้อวงศ์ตระกูล
พูลพงศ์ สุขสว่าง

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาในจังหวัดชลบุรีและตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูล          เชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คน เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ในจังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2555 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL

            ผลการวิจัยปรากฏว่าตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาในจังหวัดชลบุรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 326.88 ค่า df เท่ากับ 287 ค่า p  เท่ากับ .05255 และมีค่า GFI เท่ากับ .96 ค่า AGFI เท่ากับ.93ค่า RMSEA เท่ากับ .017 และค่า RMR เท่ากับ.038 ตัวแปรทั้งหมดในแบบจำลองสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาในจังหวัดชลบุรี ได้ร้อยละ 36 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรม การซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีทั้งสิ้น 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และ       ตัวแปรเจตนาในการทำพฤติกรรม ซึ่งมีอิทธิพลเท่ากับ .19 และ .48 ตามลำดับ และตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีทั้งสิ้น 6 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรความเชื่อเกี่ยวกับผลของการทำพฤติกรรม      ตัวแปรความเชื่อเกี่ยวกับกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรม ตัวแปรความเชื่อเกี่ยวกับปัจจัยควบคุมพฤติกรรม ตัวแปรเจตคติต่อพฤติกรรมการซื้อ ตัวแปรการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และตัวแปรการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ซึ่งมีอิทธิพลเท่ากับ .19 -.12 .46 .24 -.19 และ .49 ตามลำดับ

Abstract

               The purposes of this research were to develop and validate a causal relationship model comprising factors affecting buying behavior for mobile phone of university students in Chonburi province. The subjects were sampled by a multi-stage sampling technique. There were 500 university students in academic year 2012 participated in this research. Questionnaires were used as the research instrument. Descriptive statistics are computed by SPSS and the causal modeling involved the used of LISREL were applied for the data analysis.

               The results indicated that the hypothetical model was consistent with the empirical data as demonstrated by the following fit measures: chi-square test = 326.88, df = 287, p = .05255, GFI = .96, AGFI = .93, RMSEA = .017 and RMR = .038. All variables in the model accounted for 36% of the total variance in mobile phone buying behavior. The variables had a direct effect on mobile phone buying behavior including perception of behavioral control (.19) and intention (.48). Meanwhile, the variables also respectively indirect effects on mobile phone buying behavior; behavioral beliefs (.19), normative beliefs (-.12), control beliefs (.46), attitude toward behavior (.24), subjective norm (-.19) and perception of behavioral control (.49).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ