การศึกษาปัจจัยการบริหารที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

Main Article Content

มนัญญา อุปธิ
วีรภัทร ภัทรกุล
สมพร แมลงภู่

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) ศึกษาผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 95 คน ซึ่งได้มาจากวิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling)

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้ปัจจัยการบริหารของสถานศึกษา โดยมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 และแบบสอบถามเกี่ยวกับผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของกรมอนามัย

            สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการบริหารของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมมีการใช้ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า มีปัจจัยการบริหารทุกปัจจัย อยู่ในระดับมาก 2) ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่า ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นดีมากทุกองค์ประกอบ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 ผลการวิจัย โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 (r = .512) และปัจจัยการบริหารสามารถพยากรณ์ผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของสถานศึกษาได้ร้อยละ 26.20 โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวกหรือมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่คล้อยตามกัน

Abstract

            The objectives of this research were 1) to study administrative factors of school under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, 2) examine the implementation of health promoting schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, and 3) investigate the relationship of administrative factors and implementation of health promoting schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1.  The samples were 95 school administrators in 2014 academic year by stratified random sampling. 

            The tool was a questionnaire with the reliability of .97 concerning implementation of health promoting schools of Health Department. 

            The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and Pearson’s correlation coefficient. 

            The findings revealed that:

                1.  As a whole, all of the administrative factors of schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 were used at a high level.

                2.  As a whole, the implementation of health promoting schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 was evaluated at the highest level.  When each component was considered, it was found that all of the components were at the highest level.

                3.  As a whole, the relationship of administrative factors and implementation of health promoting schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1 related at the significant level of .01 (r = .512), and the results of implementation could be predicted for 26.20 percent that had positive relationship or conformed to the administrative factors.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ