กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

Main Article Content

ฐิติมา ผการัตน์สกุล
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รูปแบบธุรกิจและแผนการบริหารจัดการกลยุทธ์ทางการตลาด ปัจจัยแห่งความสำเร็จและพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จำนวน 8 ราย และผู้บริโภคที่ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จำนวน 7 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการศึกษาและนำเสนอผลการศึกษาในรูปแบบการพรรณนาความ

          ผลการศึกษา พบว่า 1) ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทค้าปลีก เป็นกิจการเจ้าของคนเดียว มีการกำหนดกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ 2) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความแตกต่าง กำหนดราคาโดยคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และกำลังซื้อของผู้บริโภค เลือกใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูง ให้ความสำคัญกับการบอกต่อของผู้บริโภค 3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจนั้นมาจากคุณภาพและความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ การเอาใจใส่ผู้บริโภค และทักษะความรู้ของผู้ประกอบการ 4) ผู้บริโภคมีแรงจูงใจในการซื้อมาจากผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่หาข้อมูลสินค้าด้วยตนเอง โดยกลยุทธ์ทางการตลาดนั้นมีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค ผลการศึกษา ข้อสรุปและข้อเสนอแนะของการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประกอบการธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือธุรกิจที่มีความใกล้เคียงกันต่อไป

Abstract

            The objectives of this research were to study business models and management plans,  marketing strategies, key success factors, and consumer behaviors of purchasing clothes through online social networks. This research was qualitative research. Data were collected from a sample of 8 clothes entrepreneurs through online social network and  7 consumers who purchased clothes through social network. In-depth interview was used as a method to collect data. Data obtained were them analyzed to generate conclusions and to present results of this study in the descriptive form.

          The results of this study showed that: 1) online clothes sale mostly was retail business; the business was sole proprietorship. 2) the marketing plans of the sample entrepreneurs mostly focused on product quality and differentiation, pricing based on product quality and consumer purchasing power, popular social network as their product presentation, convenient method of delivery  and payment, and word-of-mouth. 3) key success factors came from product quality and differentiation, care for consumers, and characteristics of entrepreneurs. 4) the sample consumers had  their purchasing incentive from the product; they mostly searched for information by themselves from social networks. Marketing strategies influenced consumer satisfaction. The results, conclusions, and suggestions of this study would be used as guidelines for managing clothes business through online media and similar business.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ