แนวทางการเสริมสร้างความรู้ตามหลักประชาธิปไตย ให้แก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ดิเรก ทองอร่าม
สุวุฒิ สุกิจจากร
วสันต์ พรพุทธพงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยเรื่อง แนวทางการเสริมสร้างความรู้ตามหลักประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และระดับความรู้ในหลักประชาธิปไตย การวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล           ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ตัวอย่าง ตลอดจนทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) รวมถึงสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Pearson Chi- Square  ด้วยวิธี Crosstab

               ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามในการศึกษา เกินครึ่งเป็นเพศหญิง อายุ 25-30 ปี ส่วนใหญ่มีรายได้ส่วนตัวต่อเดือน 20,001 – 25,000 บาท และ25,001 – 30,000 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน สำหรับการรับรู้ถึงหลักประชาธิปไตย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลจากโทรทัศน์ และมีความเห็นว่า โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยส่วนใหญ่มีระดับการรับรู้หลักประชาธิปไตยอยู่ในระดับน้อย รวมถึงเห็นว่าครูอาจารย์มีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนจะศึกษาหลักประชาธิปไตยจากเอกสาร/หนังสือเล่มที่มีการจัดพิมพ์จำหน่าย 

               ในขณะที่ระดับความรู้ตามหลักประชาธิปไตย พบว่า ระดับความรู้ตามหลักประชาธิปไตยของประชนในเขตกรุงเทพมหานคร ด้านความหมายของประชาธิปไตย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 และสำหรับระดับความรู้ตามหลักประชาธิปไตย ด้านประเภทของประชาธิปไตย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 ในขณะที่ระดับความรู้ตามหลักประชาธิปไตย ด้านหลักการของระบอบประชาธิปไตย โดยรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 และหากพิจารณาถึง ระดับความรู้ตามหลักประชาธิปไตย ด้านลักษณะสำคัญของการปกครองของระบอบประชาธิปไตย โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.87

            สำหรับผลการวิเคราะห์การรับรู้ถึงหลักประชาธิปไตย ด้านสื่อที่มีโอกาสในการได้รับข้อมูลมากที่สุด ส่งผลต่อ ระดับความรู้ตามหลักประชาธิปไตย พบว่า ค่า chi-square เท่ากับ 411.332 และ มีค่านัยสำคัญ                  ทางสถิติที่ระดับ .472 ซึ่งมีค่ามากกว่า .05 นั่นคือ ยอมรับสมมติฐาน H0 หมายความว่า การรับรู้ถึงหลักประชาธิปไตย ด้านสื่อที่มีโอกาสในการได้รับข้อมูลมากที่สุด ไม่ส่งผลต่อระดับความรู้ตามหลักประชาธิปไตย

Abstract

            The study to enhance knowledge of the principles of democracy to the people of Bangkok aimed to study awareness and knowledge levels of the principles of democracy to the people of Bangkok. This research was Quantitative Research by using questionnaire to collect data. The samples were 100 people in Bangkok. The statistics were frequency, percentage, mean and standard deviation. For the statistic used in hypothesis testing was Crosstab Chi- Square.

               The result found that the samples more than half were female, revenues 20,001 – 25,000 baht and 25,001 – 30,000 baht per month, educational level was Bachelor degree and work as private employees. For the recognition of the Democratic primary found that most samples got information from television and was the media that most reliable. Most of samples had the recognition principles of democracy at low level. Including the teachers was reliable person. as well as study the principles of democracy from. Document / book that printed for distribution.

               While the level of knowledge of the principles of democracy found that the principles of democracy of people in Bangkok on the meaning of democracy, the type of democracy, the principles of democracy and the key features of the rule of democracy were in high level (3.82, 3.97, 3.83, 3.87)

               And the Hypothesis testing of the media has the opportunity to get as much information as possible affect the knowledge level of the principles of democracy found that chi-square was 411.332. The statistical significance level at 0.472 that more than 0.05 that was accepted hypothesis H0. That mean the media has the opportunity to get as much information as possible didn’t affect the knowledge level of the principles of democracy

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ