การศึกษาแหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในจังหวัดตรัง

Main Article Content

ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ

            งานโบราณคดีในจังหวัดตรังที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เน้นศึกษาแหล่งโบราณคดีที่ตั้งอยู่ในแผ่นดินของจังหวัดตรังเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลการสำรวจของกรมศิลปากร ก่อนปี พ.ศ. 2556 ได้พบแหล่งโบราณคดีแหล่งใหม่ที่ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลของจังหวัดตรังหลายแห่ง แต่ยังขาดการศึกษาในเชิงลึกเพื่อกำหนดอายุและการตีความในบริบทต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเลือกพื้นที่ดังกล่าวเพื่อศึกษาลักษณะการใช้พื้นที่แหล่งโบราณคดีในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะในพื้นที่จังหวัดตรังและกำหนดอายุ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งโบราณคดีชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะกับชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ในแผ่นดินของจังหวัดตรัง

            จากผลการดำเนินงานในระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2557 ได้สำรวจพบแหล่งโบราณคดีบริเวณชายฝั่งทะเลและหมู่เกาะจังหวัดตรังแห่งใหม่ จำนวน 5 แหล่ง ได้แก่ แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคง แหล่งโบราณคดีเกาะเมง (เขาโต๊ะหาย) แหล่งโบราณคดีเกาะเหลาตรง แหล่งโบราณคดีเกาะลิบง 1 (บ้านพร้าว) และแหล่งโบราณคดีเกาะลิบง 2 (บ้านบาตูปูเต๊ะ) จากการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี โดยการศึกษาเปรียบเทียบ เพื่อกำหนด          อายุสมัย ประกอบกับตำแหน่งที่ตั้งและสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์สันนิษฐานได้ว่า มีการใช้งานในพื้นที่                เป็น 2 ช่วงอายุใหญ่ๆ คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (4,000 – 2,000 ปีมาแล้ว) อาจถูกใช้เป็นที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทางหรือเพื่อหลบลมมรสุมของคนเดินเรือ จำนวน 1 แหล่ง คือ แหล่งโบราณคดีอ่าวบุญคง และ              สมัยประวัติศาสตร์ (พุทธศตวรรษที่ 16 – 25) ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 – 21 อาจถูกใช้เป็นที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทางหรือเพื่อหลบลมมรสุมของคนเดินเรือ และบางแหล่งถูกใช้ที่ฝังศพ จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่แหล่ง โบราณคดีอ่าวบุญคง แหล่งโบราณคดีเกาะเมง (เขาโต๊ะหาย) และแหล่งโบราณคดีเกาะลิบง 2 (บ้านบาตูปูเต๊ะ) และช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 – 25 อาจถูกใช้เป็นที่พักชั่วคราวระหว่างเดินทางหรือเพื่อหลบลมมรสุมของ         คนเดินเรือ หรือเป็นท่าเรือค้าขายสินค้า จำนวน 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งโบราณคดีเกาะลิบง 1 (บ้านพร้าว)              และแหล่งโบราณคดีเกาะเหลาตรง

 

Abstract

            Former archaeological projects that were held in Trang province, basically focus on the inland area. According to the Fine Arts Department recently survey work project which were done before 2013, had shown the discovery of few more sites along the Andaman coastline and islands in Trang. However, these ancient settlement had only preliminary report, neither dating nor interpretation were recorded, therefore,  this research will focus on dating and interpreting context of  these archaeological sites in the coastal areas and islands.

          In 2013 – 2014, more survey work had been done revealed five archaeological sites; Ao Boonkong (Bay of Boonkong), Koh Meng (Khao Toh Hai), Koh Hlaotrong, Koh Libong 1            (Ban Prao) and Koh Libong 2 (Ban Batuputeh). According to archaeological evidence and sites’ location, these sites can be divided into two phrases: Pre-historic period 2,000 B.C.E. - 1 A.D. that site is Ao Boonkong (Bay of Boonkong), it’s a temporary habitation and Historic period about 11th – 20th centuries A.D. From 11th – 16th centuries A.D., three archaeological sites,       Ao Boonkong (Bay of Boonkong), Koh Meng (Khao Toh Hai) and Koh Libong 2 (Ban Batuputeh) are temporary habitation and burial. And from 17th – 20th centuries A.D., two archaeological sites, Koh Hlaotrong, Koh Libong 1 (Ban Prao) are ) are temporary habitation and port.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ