การศึกษาการคิดเชิงมโนทัศน์ เรื่องเศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและนิรนัย

Main Article Content

พัชรินทร์ เรือนสูง

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดเชิงมโนทัศน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและนิรนัย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนที่จัดการเรียนรู้ด้วย วิธีสอนแบบอุปนัยและนิรนัย และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีสอนแบบอุปนัยและ นิรนัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1ภาคเรียนที่ 2ปีการศึกษา2557 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จำนวน 36 คน

               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ 2) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงมโนทัศน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและนิรนัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  ทักษะการคิดเชิงมโนทัศน์เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและนิรนัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

               2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและนิรนัยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

               3.  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบอุปนัยและนิรนัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ( = 4.69)

 

Abstrac

            The purposes of this research were to: 1) compare the conceptual thinking of the Mathayomsuksa 5 students  before and after the participation in the learning management taught with  inductive and deductive method 2) compare the learning achievement on economics knowledge of the Mathayomsuksa 5 students before and after the participation          in the learning management taught with  inductive and deductive method 3) study the opinion of the Mathayomsuksa 5 students about the participation in the learning management              taught with inductive and deductive method.The sample of this research consisted of                    36 Mathayomsuksa 5/1 students studying in the second semester during the academic year 2014 in Srinagarindra the princess mother school samutsakhon under patronage of princess maha chakrisirnthorn, Muang District, Samutsakhon Province of the Office of Secondary School District 10.

            The tool used in the research comprised 1) lesson plans 2) a conceptual thinking test 3) a learning achievement test and 3) a questionnaire on the opinion of students about participation in the learning management taught with inductive and deductive method.             The collected data was analized by mean standard deviation (S.D) t-test dependent and content analysis.

               The research results revealed that

               1.  The conceptual thinking  of students gained after the participation in the learning management taught with inductive and deductive method was higher than the learning achievement gained before the participation  learning at the level of .05 significance.

               2.  The learning achievement of students on the aspect of economics knowledge after the participation in the learning management taught with inductive and deductive method was higher than the learning achievement gained before the participation learning at the level of .05 significance.

                3.  The positive opinion of students towards participation in the learning management taught with  inductive and deductive method had highest level. ( = 4.69)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ