การพัฒนาความเข้าใจที่คงทน เรื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า 2) เพื่อศึกษาความเข้าใจที่คงทน เรื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 30 คน ได้มาจากการใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันโดยใช้รูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมความเข้าใจที่คงทน 4) แบบประเมินตนเองของนักเรียน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
2. ความเข้าใจที่คงทน เรื่อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้าอยู่ในระดับดี
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Abstract
The purposes of this research were to: 1) compare the learning outcomes on economic activity in daily lives of Mathayomsuksa 5 students before and after using advance organizer model. 2) study enduring understanding on economic activity in daily lives of Mathayomsuksa 5 students using advance organizer model. 3) study the opinion of Mathayomsuksa 5 students toward advance organizer model. The sample of this research consisted of 30 Mathayomsuksa 5/3 students studying in the first semester during the academic year 2015 in Wathuayjawrakay Wittayakom School, Phrapathomchedi District, Nakornpathom Province of the Office of Secondary School District 9, The instruments were: 1) lesson plan 2) learning outcome tests 3) enduring understanding observation 4 self-assessment form 5) a questionnaire on the opinion of student advance organizer model. The data were analyzed for mean () standard deviation (S.D.) t – test dependent and content analysis.
The findings were as follows:
1. The learning outcomes of students on economic activity in daily life using advance organizer model was higher than before at the level of .05 significance.
2. The enduring understanding on economic activity in daily lives after using advance organizer model was higher than before at the level of .05 significance.
3. The opinions of students towards advance organizer model were at high level of agreement.