การวิเคราะห์องค์ประกอบของกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ สังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ 12 แห่ง 350 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการปฏิบัติด้านกระบวนการจัดการความรู้ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ ทำการสกัดองค์องค์ประกอบด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม เทคนิคย่อยวิธีแกนหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก ด้วยวิธีแวริแมกซ์
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามกระบวนการจัดการความรู้ ได้ดังนี้ 1.องค์ประกอบด้านการตรวจสอบความรู้ และกำหนดความรู้ที่ต้องการ 2. องค์ประกอบด้านการแสวงหาและการสร้างความรู้ 3. องค์ประกอบด้านการประมวลความรู้ และการเข้าถึงความรู้ 4. องค์ประกอบด้านการจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ และ 5. องค์ประกอบด้านการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และประเมินผลความรู้ ซึ่งทุกองค์ประกอบสามารถร่วมกันอธิบายกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐได้ 69.01%
Abstract
The purpose of this research were exploratory factor analysis of knowledge management process of autonomy university. The sample research is supporting staffs of 350 from 12 units of autonomy university unit by stratified random sampling of university. The instrument of this research is questionnaire checked Content Validity by Index of Item – Objective Congruence was between 0.60 to 1.00 and the alpha coefficient reliability was 0.98. The data were analyzed using an Exploratory Factor Analysis (EFA) with the factor extraction consisted common factor analysis (CFA) by principal axis factor (PAF) and orthogonal by varimax method.
The results of this the research were 5 factors with knowledge management process of autonomy university consisted 1. Knowledge Audit and Identification factor 2. Knowledge Acquisitions and Creation factor 3. Knowledge Storage 4. Knowledge Codification and Access factor and 5. Knowledge Learning Transfer and Assessment factor. In particular, the obtained factors accounted for 69.01 percents of knowledge management process of Autonomy University.