การพัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

ศันสนีย์ สังสรรค์อนันต์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการเกี่ยวกับชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย (2)  พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้  สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย  (3) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย ที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ และ (4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ 

            กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม ได้แก่  (1)  กลุ่มที่ 1  ได้แก่  นักเรียนระดับประถมศึกษา ปีที่ 6 ในโรงเรียนเขตพื้นที่ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3  จำนวน 359 คน เพื่อใช้ในการสอบถามความต้องการเกี่ยวกับชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์  เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (2) กลุ่มที่ 2  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  (1)  แบบสอบถามความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์  เรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ (2)  ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์  เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ (3) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนแบบคู่ขนาน  และ (4)  แบบสอบถามความคิดเห็นนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

            ผลการวิจัย พบว่า

            (1)  นักเรียนส่วนมากมีความต้องการชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ โดยเหตุผล คือ นักเรียนยังไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ โดยเนื้อหาที่ต้องการ คือ เนื้อหาเกี่ยวกับแนวทางป้องกันและการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 

         (2) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบออฟไลน์ คู่มือการเรียน แบบฝึกปฏิบัติ ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ  พบว่า ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์  เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ ที่ผลิตขึ้น มีค่าประสิทธิภาพ  E1/ E2 ที่ระดับ 80.40/80.96

            (3) ผลการวิเคราะห์ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์  เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ ที่ผลิตขึ้นทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

         (4) ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอนุรักษ์ป่าไม้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

คำสำคัญ:  ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์  การอนุรักษ์ป่าไม้  ระดับประถมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

Abstract

            This research was aimed (1) to survey the demand for an Electronics Learning Packages on the topic of Forest Conservation for Prathom Suksa VI Students  in the Southern Region of Thailand ; (2) to develop an Electronics Learning Packages on the topic of Forest Conservation for Prathom Suksa VI Students  in the Southern Region of Thailand, (3) to study the progress of learning by using the developed Electronic Learning Packages on the topic of Forest Conservation for Prathom Suksa VI Students  in the Southern Region of Thailand ; and (4) to evaluate opinions of the students towards the developed Electronic Learning Packages on the topic of Forest Conservation. The research samples consisted of two groups. Group 1 were 359 primary school students studying in Grade 6 of Nakhon Sri Thammarat Primary Educational Service Area 3.This group was evaluated in the survey for their demands on Electronic Learning Packages on the topic of Forest Conservation, by stratified random sampling method. Group 2 were 40 primary school students studying in Grade 6 of Nakhon Sri Thammarat Primary Educational Service Area 3. They were participated in the study to determine efficiency and quality of the Electronic Learning Packages on the Topic of Forest Conservation. Research tools employed were (1) a questionnaire form evaluating the students’ demand for the Electronic Learning Packages on the topic of Forest Conservation; (2) an Electronics Learning Packages on the topic of Forest Conservation; (3) two parallel forms of an achievement test used for pre-testing and post-testing; and (4) a questionnaire to evaluate students’ opinion towards the developed Electronic Learning Packages on the topic of Forest Conservation.  Statistics used for data analysis were the E1/E2 efficiency index, mean, standard deviation, and t-test

         The results have demonstrated that (1) The students had desire to access the Electronic Learning Packages on Forest Conservation because they lack of the knowledge. Their required contents were guidance on Forest Conservation; (2) an Electronics Learning Packages on the topic of Forest Conservation which consists of off-line computer lessons, instructional manual, and practice lessons. The results of efficiency analysis revealed that the Electronic Learning Packages was efficient as evident by a E1/E2 ratio of 80.40/80.96; (3) the students studied with the Electronic Learning Packages on the Topic of Forest Conservation had progressed significantly at the 0.05 level; and (4) the opinion of these students towards the quality of the Electronic Learning Packages were at the highly satisfactory level. 

 

Keywords :  Electronic Learning Packages, Forest Conservation,  Primary Education, Nakhon Sri Thammarat Province

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ