การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
สมสรวง พฤติกุล
สมาธิ นิลวิเศษ
อรุณ บัวจีน

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อวิเคราะห์เมทริกซ์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามประกอบด้วย 1) อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 408 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Stratified Random Sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ ผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัย และประธานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำคณะวิชา รวมจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับอาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและแบบสัมภาษณ์แนวทางในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) การวิเคราะห์เมทริกซ์ (Matrix Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) ผลการประเมินความต้องการจำเป็นโดยการวิเคราะห์ค่าดัชนี PNIModified ในภาพรวมตามการประเมินของอาจารย์มีค่าเท่ากับ .463 โดยรายการประเมินที่มีค่าสูงที่สุด คือ“ด้านการบริการวิชาการ” (.681) รองลงมาคือ “ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม” และ “ด้านการวิจัยและสร้างสรรค์” (.569 และ .548 ตามลำดับ) ในส่วนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พบว่าดัชนี PNIModified ในภาพรวมมีค่าเท่ากับ .357โดยรายการประเมินที่มีค่าสูงที่สุด คือ “ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม” (.516) รองลงมาคือ “ด้านการบริการวิชาการ” และ “ด้านการวิจัยและสร้างสรรค์” (.407 และ .363 ตามลำดับ) 

         2) ผลการวิเคราะห์เมทริกซ์พบว่า บทบาทของบัณฑิตวิทยาลัยในภาพรวมตามการประเมินของอาจารย์ อยู่ในส่วนที่ 3 คือ ผลงานไม่ดี ต้องปรับปรุง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า เกือบทุกด้าน อยู่ในส่วนที่ 3 คือ ผลงานไม่ดี ต้องปรับปรุง ยกเว้นด้านการเรียนการสอน อยู่ในส่วนที่ 2 คือ ผลงานประสบความสำเร็จดี ในส่วนบทบาทของบัณฑิตวิทยาลัยในภาพรวมตามการประเมินของนักศึกษาพบว่า อยู่ในส่วนที่ 3 คือ ผลงานไม่ดี ต้องปรับปรุง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า เกือบทุกด้าน อยู่ในส่วนที่ 3 คือ ผลงานไม่ดี ต้องปรับปรุง ยกเว้นด้านการบริหารจัดการของบัณฑิตวิทยาลัย อยู่ในส่วนที่ 2 คือ ผลงานประสบความสำเร็จดี

         3) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มีจำนวน 19 ประเด็นซึ่งครอบคลุมภารกิจ 5 ด้าน อาทิ พัฒนาหลักสูตรในลักษณะบูรณาการหรือพหุวิทยาการ มีระบบและกลไกในการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาดับนานาชาติ เป็นต้น

 

Abstract

            This research was an assessment of the needs analysis to develop the graduate school of Silpakorn University. The main objective was to assess the needs to develop the graduate school of Silpakorn University while the overall specific objectives of this research were 1) to assess the need to develop the graduate school at Silpakorn University; 2) to analyze the matrix of needs to develop the graduate school of Silpakorn University; and 3) to study ways to improve the quality of the graduate school of Silpakorn University. The sample comprised of lecturers and graduate students of Silpakorn University in the total of 408 in an academic year 2014. The method of sampling using in the research was Multi-Stage Stratified Random Sampling. Ten individuals from the administrators and the committee of the graduate school from the faculties provided the qualitative data to improve the quality of the graduate school of Silpakorn University. The research instruments used for this study were survey questionnaires to assess the needs to develop the graduate school for lecturers and graduate students of Silpakorn University and interview forms for the qualitative data to improve the quality of the graduate school of Silpakorn University. Descriptive statistics, Modified Priority Needs Index (PNIModified), Matrix Analysis and Content Analysis were employed to analyze the data in the research.

               The findings of the study were as follows:

            1) The result of the needs assessment from the instructors using PNI Modified was 0.463. Academic service that provides the highest score from the assessment was .681. The second highest score was the preservation of Thai art & culture which had the score of.569 while research & creativity provided the third highest score of .548. The overall of the assessment from graduate students by using PNI modified had the average score of .357.The preservation of Thai art & culture provided the highest score which was 0.516 while the scores of academic service and research & creativity were 0.407 and 0.363 respectively.

               2)  The matrix analysis found that the roles of the graduate school which was assessed by faculties was in the third level. The finding suggested that the improvement was needed. From the assessment by faculties, all dimensions except learning had the scores in the third level which indicated the needs for improvement. The learning dimension had the score in the second level that meant it was successful. Similarly, matrix analysis score of the roles of the graduate school which was assessed by students was in the third level. From student assessment, all dimensions except management &administration were in the second level (successful) which required improvement.

               3)  The results of studying ways to improve the quality of the graduate school of Silpakorn University showed nineteen significant topics which covered five dimensions. The examples of the topics that should be in the plan were integration ofcurriculum development, multi-disciplinary curriculum development, system and mechanism to enhance the quality of graduate student and academic networking with international institution.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ