แนวทางความสำเร็จของการสร้างพื้นที่สีเขียวในแหล่งอุตสาหกรรม ชุมชนตรอกไฟไหม้ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง กรณีศึกษา โครงการธนาคารต้นไม้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Main Article Content

กนกวรรณ์ โสภักดี
ช่อผกา เหลืองช่างทอง
ธันยาพร ศิริหล่อ
อมรรัตน์ ปัญจมาพร
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางความสำเร็จ สภาพปัญหาและอุปสรรคของการสร้างพื้นที่สีเขียวในแหล่งอุตสาหกรรมของชุมชนตรอกไฟไหม้ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ใช้รูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ในการวิเคราะห์เนื้อหา โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ชาวบ้านในชุมชนตรอกไฟไหม้ จำนวน 10 คน ใช้วิธีการหาข้อมูลแบบบอกต่อ (Snowball Sampling) และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโครงการธนาคารต้นไม้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 3 คน เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลและรับรู้ถึงการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ เครื่องบันทึกภาพและบันทึกเสียง ผู้จดบันทึก และแนวคำถามการสัมภาษณ์ปลายเปิด ผู้วิจัยใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและค้นคว้าเนื้อหาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จของชาวบ้านในชุมชนตรอกไฟไหม้ เริ่มจากการพยายามทดลองปลูกต้นไม้หลากหลายชนิด ชาวบ้านสังเกตเห็นว่ามีต้นยางนาขึ้นอยู่ภายในบริเวณพื้นที่วัดเป็นจำนวนมาก จึงเริ่มเก็บลูกยางนามาเพาะและทดลองปลูกปรากฎว่าเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีจึงนิยมนำมาปลูก เมื่อปลูกแล้วสามารถทำประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ต้นยางนามีอายุ 17 ปีขึ้นไปสามารถนำเอาน้ำมันยางมาทำไบโอดีเซล ถ้ามีอายุมากขึ้นทำให้ราคาของต้นยางเพิ่มสูงขึ้นด้วย ปัจจุบันชุมชนตรอกไฟไหม้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง แหล่งดูงานและสถานที่ฝึกอบรมสำหรับเกษตรกรที่สนใจการทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเองและนำไปสู่การทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนนอกจากนั้นการศึกษายังพบว่าปัญหาและอุปสรรคของชาวบ้านในชุมชนตรอกไฟไหม้ที่มีอยู่ในปัจจุบันเกิดจากการเช่าที่ดินของคนอื่นหรือขอคนอื่นมาทำ พื้นดินบริเวณนี้เป็นดินเค็มไม่เหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ใช้ระยะเวลานานต่อการมองเห็นถึงผลของความสำเร็จ และชาวบ้านยังขาดทักษะความรู้ด้านเกษตรกรรม

 

คำสำคัญ: แนวทางความสำเร็จ, พื้นที่สีเขียว, แหล่งอุตสาหกรรม

 

Abstract

               The purpose of this qualitative research was studied the successful, the problems and the obstruction over green areas construction in industry sources of Trok Fri Mai community ampher Klaeng, Rayong province. Descriptive analysis method was used in content analysis. Field data had been collected conducting in-depth interview with key informants which are 10 villagers in Trok Fri Mai community by using snowball sampling method and 3 Officials of the agencies related to the tree bank project activity of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives in order to collect data and have an awareness of social responsibility from organization to villagers.  The tools for data collection were video recorder, voice recorder and note taker were used to collect data. The researcher used descriptive analysis method to analyze received information from informants and documentary study analysis.

               According to the result of this study, the villagers in Trok Fri Mai community have successfully tested the various kinds of tree planting and founded that the planting of the Dipterocarpus alatus Roxb can generate income for villagers. When Dipterocarpus alatus Roxb grows more than 17 years, the rubber oil can make the Biodiesel. Eventually, the valued of Dipterocarpus alatus Roxb can increase profitability as it grows older.

               Currently, Trok Fri Mai community became the study center of learning sufficient economy, making a study trip and training for any farmers who are interested in self-sufficient economy, led to sustainable agriculture.

               The study also revealed the existing problems and the obstruction that, the villagers have to rent the land of others or ask others to do, the type of soil was saline soil which not suitable for agriculture. Other problem was that project takes long time until archives and these villagers also lack of agricultural knowledge and skills.

 

Key words: Successful, Green Construction, Industrial Area

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ