การให้ความหมาย ที่มาของความหมาย และการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน ชายรักชาย โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ยุวรัตน์ จิรเมธาธร
ขวัญนา คงคาเขตร
จันทิมา แจ่มจำรัส
สมสกุล เบาเนิด
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงการให้ความหมาย ที่มาของความหมายและการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชายรักชาย โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาการศึกษาปรากฏการณ์วิทยาในการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกนักเรียนชายรักชาย โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน ใช้วิธีการหาข้อมูลแบบบอกต่อ (Snowball Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามในการสัมภาษณ์ เครื่องบันทึกเสียง และสมุดจดบันทึก ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis)

               ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชายรักชาย โรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมดังนี้ ความรับผิดชอบต่อสังคมในความหมายของนักเรียนชายรักชายโรงเรียนทวีธาภิเศก กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 5 ประเด็น ดังนี้ 1) เป็นหน้าที่ในการรับผิดชอบช่วยเหลือสังคม 2) การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม 3) การมีจิตอาสา 4) การออกค่ายช่วยเหลือชุมชน 5) การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์โดยให้ความสำคัญความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยมีที่มาจากโรงเรียนเป็นแรงสนับสนุนหนึ่งที่หล่อหลอมและผลักดันในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม จนเกิดจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม นำไปสู่การเป็นพลเมืองที่ดีและเป็นอนาคตสำคัญที่จะพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป และรูปแบบในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชายรักชาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) จิตอาสา 2) การบริจาคเพื่อการกุศล นักเรียนชายรักชายได้เลือกทำกิจกรรมอาสาสมัครที่ใช้จิตอาสาจากแรงกายแรงใจช่วยเหลือชุมชนเป็นอันดับที่หนึ่ง เพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่ใช้เงินทุน อันดับที่สองคือ การบริจาคเพื่อการกุศล ตามลำดับ

 

Abstract

            The study aimed to examine the construct meanings of Corporate SocialResponsibility (CSR) as well as the CSR initiative among gay students at Taweethapisek School, Bangkok. This is the qualitative study by using content analysis of Phenomenology. The data were collected through in-depth interview of 15 gay students of Taweethapisek School, Bangkok with snowball sampling. The tools of the study were interview question guideline, voice recorder, and notebook. The descriptive analysis was used in analyzing the data.

            The results of this study were illustrated that the gay students at Taweethapisek School, Bangkok have defined CSR in 5 aspects as following; 1) responsibility in helping a society, 2) environmental conservation, 3) having public consciousness, 4) camp volunteering in community, and 5) being helpful. They greatly focus on the CSR and the school that has been a strong supporter in instructing and pushing CSR activities to generate the social responsibility and lead students to be the good population and the vital future in developing the country sustainably. The CSR pattern of these gay students could be divided into 2 ways 1) being the volunteer and 2) donation for charities. The students chose to be volunteer by using their physical and mental power in helping the community because of low cost activity, and donate for charities respectively.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ