การพัฒนาตัวบ่งชี้การสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

Main Article Content

วราภรณ์ แย้มทิม

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวบ่งชี้การสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้การสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 เรื่อง 2) การพัฒนาตัวบ่งชี้การสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ 3) การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 272 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของตัวแปร และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง

               ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวบ่งชี้การสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้นมีจำนวน 9 ตัวบ่งชี้ ได้รับฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญว่า มีความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับวัดการสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ได้แก่ (1) การพัฒนาความรู้ ทักษะ และความเชื่อมั่น (2) การสร้างหรือการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากร (3) การส่งเสริมให้การวิจัยผูกติดกับการปฏิบัติงาน (4) การสร้างหรือการยกระดับความเชื่อมโยง ความเป็นหุ้นส่วน และความร่วมมือรวมพลัง (5) การมีส่วนร่วมในการแปลความรู้และการแลกเปลี่ยนความรู้ (6) การจัดการความยั่งยืน (7) การยกระดับภาวะผู้นำ (8) การสร้างหรือการยกระดับวัฒนธรรมการวิจัย และ (9) การส่งเสริมและการเข้าร่วมกิจกรรมวิจัย 2) โมเดลตัวบ่งชี้การสร้างศักยภาพการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (c2 = 826.25; df = 772; P = 0.086) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.881 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.841 และค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.026

 

คำสำคัญ:  การพัฒนาตัวบ่งชี้  การสร้างศักยภาพการวิจัย  การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

 

Abstract

            The objectives of this research were: (1) to develop indicators for building classroom action research capacity; and (2) to validate model of indicators for building classroom action research capacity based on theoretical concept and empirical data. The research procedure was divided into 3 phases; 1) synthesis of indicators for building classroom action research capacity from 10 related literature, 2) development of indicators for building classroom action research capacity, the sample were 17 experts derived from purposive sampling, and 3) validation of indicators model for building classroom action research capacity, the sample were 272 supervisors under Office of the Basic Education Commission drawn from multi-stage sampling. The research instruments were data record and questionnaires. The data were analyzed by content analysis, descriptive statistics, Pearson’s correlation, and second-order confirmatory factor analysis.

            The research results were as follows: 1) the 9 indicators for building classroom action research capacity were given consensus from the experts that there were the most appropriateness for measuring classroom action research capacity building. These indicators are as follow: (1) developing knowledge skills and confidence, (2) creating or enhancing infrastructure and resources, (3) facilitating the research is 'close to practice', (4) creating or enhancing linkages, partnerships, and collaborations, (5) engaging in knowledge translation and exchange, (6) addressing sustainability, (7) enhancing leadership, (8) Creating or Enhancing Research Culture and (9) promoting and engaging in research activity. 2) the model of indicators for building classroom action research capacity was fitted with empirical data (c2 = 826.25; df = 772; P = 0.086; GFI=0.881, AGFI=0.841, RMR=0.026)

 

Keywords:  indicator development, research capacity building, classroom action research  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ