การศึกษาและออกแบบการฝึกอบรมสำหรับหัวหน้างานของผู้รับจ้างผลิตสินค้า ขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาผู้รับจ้างผลิตสินค้าในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุรมงคล นิ่มจิตต์
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของหัวหน้างาน ความพร้อม ความต้องการการสนับสนุนจากหน่วยงานและภายนอก 2) เพื่อประเมินระดับทักษะที่มีความจำเป็นต่อการทำงานในตำแหน่งหัวหน้างาน และ เพื่อออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมที่เหมาะสมให้แก่หัวหน้างาน ภายใต้บริบทของผู้รับจ้างผลิตสินค้าขนาดกลางและขนาดเล็กในประเทศไทย ผ่านกรณีศึกษาหัวหน้างานขั้นต้นของผู้รับจ้างผลิตสินค้าในจังหวัดปทุมธานี ใช้การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตพฤติกรรม เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้างาน ขาดความพร้อมในการทำงานในตำแหน่งหัวหน้างาน ยังไม่ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ ขาดความมั่นใจในการทำงาน และมีทัศนคติค่อนไปในเชิงลบ ทักษะที่ต้องได้รับการพัฒนามากที่สุดคือทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการสื่อสาร และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน นอกจากนั้นหัวหน้างานยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการวางแผน ก่อนฝึกอบรมหัวหน้างาน ผู้บริหารระดับสูงควรพูดคุยให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ แสดงให้หัวหน้างานเห็นความสำคัญ หลักสูตรฝึกอบรมต้องเสริมทักษะทางการสื่อสาร ใช้วิธีบทบาทสมมุติสถานการณ์จำลอง    การทำแบบฝึกหัด การฝึกการรายงานและการนำเสนอ ใช้กิจกรรมกลุ่มฝึกให้เกิดการคิดวิเคราะห์ และแยกแยะ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหัวหน้างาน และใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ฝึกทักษะการวางแผน และควรฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

Abstract

            The objectives of this study were 1) to examine the current situation, readiness, and the supporting requirement from internal and external support of line supervisors; 2) to estimate the level of important skills for supervisors; and 3) to design the training program which is suitable for them in the context of Thai Original Equipment Manufacturer (OEM), a small and medium enterprise, through a case study of an OEM in Pathumthani. The study was a phenomenology. The data were collected by in-depth interview and the behavioral observation. The result found that the supervisors were lack of readiness for their position and they did not recognize the responsibility themselves. Not only they lacked self-confidence, but they also had negative thinking slightly. The most management skills that they needed to improve are human skills, especially in communication and relationship. Furthermore, they also needed to improve on analysis thinking, synthesis thinking, and planning skills. Before the training start, an executive should kindly talk, and give advice to pursue supervisors as a key man for big success. The role-play, simulation, practices, reporting techniques, and presentation should be applied to improve their communication skills. For analysis thinking skills, group activities should be applied to share their knowledge with others. The mathematic models will be used for improving planning skills. Finally, the training must be provided continuously.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ