ความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

Main Article Content

อมรเทพ สีนวนสูง

Abstract

บทคัดย่อ

                    การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยรวมและ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านส่งเสริมวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกีฬา ด้านนักศึกษาสัมพันธ์ และด้านบำเพ็ญประโยชน์ จำแนกตามเพศ ระดับชั้นปี สถานภาพ คณะวิชา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม         คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะศิลปศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวนทั้งสิ้น 467 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท (Liket's Scale) จำนวน 41 ข้อ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.964 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe's Method)

                    ผลการวิจัยพบว่า

                          1.   นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาโดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก

                          2.   นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่มีเพศต่างกัน สถานภาพต่างกัน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาโดยรวมและเป็นรายด้านไม่แตกต่างกัน

                          3. นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ชั้นปีต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษานักศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกีฬา และด้านบำเพ็ญประโยชน์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่พบความแตกต่าง

                          4.   นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพที่ศึกษาคณะวิชาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านส่งเสริมวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านนักศึกษาสัมพันธ์ และด้านบำเพ็ญประโยชน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านกีฬาที่ไม่พบความแตกต่าง

Abstract

                    The purposes of this research were to 1) study students’ opinions on participating in extra curriculum activities at Rajamangala University of Technology Krungthep had five aspects; academic supports, promotion of the arts and culture, sports activities, student relationships and some of public service. 2) Compare students’ opinions on participating in extra curriculum activities at Rajamangala University of Technology Krungthep in 5 aspects classified by sex, class level, status, faculties and academic achievement. The sample of this research was 467 selected by Stratified Random Sampling and a Sample Random Sampling. Undergraduate students from the Faculty of Technical Education, the Faculty of Industrial Engineering, the Faculty of Science and Technology, the Faculty of Home Economics and Technology, the Faculty of Textile Industry of Technology, the Faculty of Liberal Arts, the Faculty of Business Administration and International College using stratified and simple random sampling technique. A 5 rating scale questionnaire with reliability of .964 was used to collect data. Statistical methods used to analye data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one way analysis of variance and scheffe’ method.

                    The results of research were as follows :

                          1.   Students’ opinions on participating in extra curriculum activities at Rajamangala University of Technology Krungthep in overall and in each aspect were at high level.

                          2.   Students’ at Rajamangala University of Technology Krungthep who had different sexes, students and achievement of study had opinions on participating in extra curriculum activities in overall and in each aspect indifferently.  

                          3.   There were no different in opinions towards students’ opinions on participating in extra curriculum activities in overall among students who were in different class level. When considering in each aspect, there were different in opinions in promotions of the arts and culture aspect, sports activities aspect and public service minds aspect with statistically significant at .05 level. There were no different in opinions in other aspects.

                          4.   There were differences in opinions towards students’ opinions on participating in extra curriculum activities in overall and every aspects except sports activities aspect, among students who were in different faculties with statistically significant at .05 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ