การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการนำรูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นตามแนวคิดการประเมิน แบบเสริมพลังอำนาจ ไปใช้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

นิติ นาชิต
ชัยวิชิต เชียรชนะ
สิริรักษ์ รัชชุศานติ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการนำรูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ไปใช้ในสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการนำรูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ไปใช้ในสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 5 คน และกลุ่มทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 24 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม 2) แบบประเมินความสอดคล้อง  3) ใบงาน 4) แบบทดสอบ และ 5) แบบประเมินการจัดการฝึกอบรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการนำรูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ไปใช้ในสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีความสอดคล้องกันและมีความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการนำรูปแบบการประเมินหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ตามแนวคิดการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจไปใช้ในสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพของค่า E1/E2 เท่ากับ 82.41/89.86  และมีผลการประเมินการจัดการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

 

Abstract

            The purposes of this research were to 1) develop a training course curriculum using the evaluation model of short course curriculum based on empowerment evaluation approach implemented in colleges under Office of the Vocational Education Commission; and 2) analyze a training course curriculum using the evaluation model of short course curriculum based on empowerment evaluation approach implemented in colleges under Office of the Vocational Education Commission. The research informants were experts, deputy directors, heads of Curriculum and Instruction Section, and heads of Assessment and Evaluation in vocational colleges selected by the required criteria. The statistics used in the study were mean, and standard deviation.

            The research results revealed that according to the development and study of a training course program using the evaluation model of short course curriculum based on empowerment evaluation approach implemented in colleges under Office of the Vocational Education Commission, it was found that the E1/E2 efficiency of the training program was at 82.41/89.86 and the appropriateness of the program was at the highest level.

 

Keyword : develop a training course curriculum, empowerment evaluation

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ