การนำนโยบายการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติ ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พรรณงาม ธีระพงศ์
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน และปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการกระจายอำนาจการจัดการการศึกษาสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods)โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร คือ บุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และเขต 2 ประจำปีงบประมาณ 2558 ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานด้านการกระจายอำนาจในภาพรวมสามารถดำเนินงานได้ในระดับดี โดยมีปัจจัย เช่น การบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาลภาวะผู้นำของผู้บริหาร เอื้อต่อการดำเนินงาน เป็นต้น ส่วนความไม่พร้อมของกฎเกณฑ์ต่างๆ นโยบายการศึกษาจากส่วนกลางมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน เป็นต้น จากผลการวิจัยผู้วิจัยจึงได้เสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการกระจายอำนาจการจัดการการศึกษาครอบคลุม 4 ด้านของการกระจายอำนาจ

 

คำสำคัญ : การกระจายอำนาจการจัดการศึกษา/ ปัจจัยที่เอื้อต่อการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา/ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการ กระจายอำนาจการจัดการศึกษา/ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมการกระจายอำนาจการจัดการการศึกษา

 

Abstract

            A study has objectives as follows; To investigate the current situation of the implementation and to identify success and obstacle factors of the decentralization and 3) To propose a guideline toward decentralizing education to Educational Service Areas and schools. According to data collection, the research methodology conducting in Mixed Methods. The respondents were all personnel under the office of the Nakhon Pathom Education Service Area 1 and 2. The findings of this research were revealed that the Educational Decentralisation Policy was implemented in good level. Factors that had contributions to the implementation of the policy most was a good governance administration and manager’s leadership. Moreover, the unreadiness of rules and organising and less power in recruitment of the service areas hindered considerably to the implementation. This research, therefore, proposed recommendations to improve the implementation of the educational decentralisation policy in 4 dimensions.

 

Keywords : Decentralization of educational management / Factors which have positive impact to the decentralisation of education/ Hinder factors for educational decentralisation/ A way forward

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ