การพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทย ของครูระดับประถมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

มธุรส ประภาจันทร์
มารุต พัฒผล
วิชัย วงษ์ใหญ่
โชติมา หนูพริก

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาตอนต้นวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1       การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาตอนต้น โดยการศึกษา สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยระดับประถมศึกษาตอนต้นและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยกร่างและนิยามองค์ประกอบตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาตอนต้น ขั้นตอนที่ 2 การคัดเลือกตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาตอนต้นโดยนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 มาสร้างแบบประเมินคุณภาพตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาตอนต้นและทำการตรวจสอบคุณภาพโดยการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และพิจารณาความสอดคล้องของข้อคำถามและเลือกข้อคำถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป จากนั้นตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินคุณภาพตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาตอนต้น โดยนำพฤติกรรมบ่งชี้ที่ผ่านการคัดเลือกมาสร้างเป็นแบบประเมินคุณภาพตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดัประถมศึกษาตอนต้นเป็นมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามวิธีการของไลเคิร์ท (Likert) และนำไปทดลองใช้กับครูสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาตอนต้นที่มีประสบการณ์สอนไม่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 30 คน เพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงสภาพ (Concurrent Validity) และคัดเลือกตัวบ่งชี้ที่มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปไว้ ขั้นตอนที่ การตรวจสอบความเหมาะสมของคุณภาพตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนคัดเลือกตัวบ่งชี้ที่ผ่านเกณฑ์และทำการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) อีกครั้ง และขั้นตอนที่ 4 สรุปชุดตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้พฤติกรรมความสามารถในการวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาตอนต้นที่พร้อมใช้งานทั้งหมด 3 องค์ประกอบ 40 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การประเมินวินิจฉัยการอ่าน จำนวน 20 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการอ่านจำนวน 10 ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ 3 การแก้ปัญหาการอ่านและสะท้อนผล จำนวน 10 ตัวบ่งชี้

 

 

Abstract

            The purpose of this research was to develop behaviors Indicators for Thai Language Reading Diagnostics Ability of Lower Primary Teachers. The processes of the research were consisted of four stages as follows 1) Studying concept and relevant literature of the behaviors for Thai Language Reading Diagnostics of Lower Primary Teachers using in-depth interviews which were consisted of 5 specialists in Assessment and Thai language teaching fields 2) Selecting factors and behaviors indicators by another 5 specialists by using focus group discussion to synthesize the gathered information in the first stage to construct the Likert Rating Scales which were approved Content Validity and Item Objective Congruence Index (IOC) by selecting the items that were contained the value of Congruence Index of content over 0.5. and then, investigated by the 30 Thai Language teachers who were at least 5-year teaching experiences to verify the suitability items in terms of Concurrent Validity and to select the indicators by finding Mean and Standard Deviation (S.D.) over 3.50. 3) Verifying the quality of all factors and behaviors indicators by connoisseurship from 5 specialists and 4) Concluding the set of the factors and behaviors indicators for Thai Language Reading Diagnostics Ability of Lower Primary Teachers.

            The results of this research revealed that all indicators in all factors were highly accurate, possible and effective. There were 3 factors and 40 indicators. They were 1) Thai Language Reading Diagnostics Assessment comprising of 20 indicators 2) Thai Languages Reading Problem Analyzing comprising of 10 indicators and 3) Thai Language Reading Problem Solving and reflecting comprising of 10 indicators.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ