รูปแบบองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุริยะ ทวีบุญญาวัตร
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบขององค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) รูปแบบขององค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ผลการยืนยันรูปแบบขององค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 165 โรงเรียน โดยตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของเครซี และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้แทนครูในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 4 คน ได้ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 660 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบขององค์การที่มีสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์โดยการหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

            ผลการวิจัยพบว่า1)องค์ประกอบขององค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ (1) การบริหารแบบมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (2) การนำองค์การตามหลักธรรมาภิบาล (3) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (4) การบริหารแบบมุ่งเน้นยุทธศาสตร์และ       (5) การบริหารแบบมุ่งเน้นผลสำเร็จขององค์การ 2) รูปแบบขององค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบซึ่งการนำองค์การตามหลักธรรมาภิบาลมีอิทธิพลโดยตรงต่อการบริหารโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสำเร็จขององค์การ ในขณะที่การนำองค์การตามหลักธรรมาภิบาล มีอิทธิพลทางอ้อม ต่อการบริหารโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผ่านการบริหารแบบมุ่งเน้นยุทธศาสตร์ นอกจากนี้การนำองค์การตามหลักธรรมา   ภิบาลมีอิทธิทางอ้อมต่อการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสำเร็จขององค์การผ่านการบริหารแบบมุ่งเน้นยุทธศาสตร์             และการบริหารทรัพยากร 3) ผลการยืนยันรูปแบบขององค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และการใช้ประโยชน์สอดคล้องกับทฤษฎี หลักการ แนวคิดตามกรอบการวิจัย

 

คำสำคัญ: องค์การสมรรถนะสูง

 

Abstract

            The objectives of this study are to discover 1) the constituents of high-performance secondary schools under the Office of the Basic Education Commission, 2) the model of high-performance organization management of secondary schools under the Office of the Basic Education Commission 3)  confirmation action of the model of high-performance organization management of secondary schools under the Office of the Basic Education Commission. The sample schools were 165 highly competitive secondary schools under the Office of the Basic Education Commission. The sample size was determined by Krejcie and Morgan Table. There were four data providers in each school; School Director, School Vice Director, the Chairman, and the Teacher representative of the School Board. The total number of data providers was 660. The research instrument was the questionnaire about the model of high-performance organization management in secondary schools. used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis, and path analysis. The findings of this research were:1) There were five constituents of high-performance secondary schools under the Office of the Basic Education Commission 1) learner-centred management, (2) good-governance management, (3) human resource management, (4) strategic management, and (5) goal-oriented management.2) The high-performance  organization model of secondary schools correlated to empirical data  gathered. It was found that the good-governance management had direct impacts on the learner-centered management and goal-oriented management. However, the good-governance management had indirect impacts on learner-centered management through strategic management. Moreover, the good-governance  management also had indirect impacts on goal-oriented management through strategic management  and human-source management.3) The results confirmation of the high-performance model of secondary school under the Office of the Basic Education Commission was appropriated, possible, advantage, and accurate based on conceptual framework and theory.                                                                                                                                       

 

Keyword: High Performance Organization

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ