การพัฒนางานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุกูล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร โดยใช้กระบวนการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

อิสติยา อายุมั่น
มณฑา จำปาเหลือง

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การพัฒนางานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุกูล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2) ผลการพัฒนางานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสหกรณ์ประชานุกูล สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่     ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูที่สอนกิจกรรมแนะแนวจำนวน 3 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และคู่มือพัฒนางานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  การพัฒนางานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติทั้งในด้านผู้บริหารกำหนดนโยบายและครูที่สอนกิจกรรมแนะแนวต้องนำสู่การปฏิบัติ           มีการประชุมเพื่อระบุ กำหนดและคัดเลือกแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามมาตรฐานยุทธศาสตร์การแนะแนว เพื่อนำไปเป็นองค์ประกอบส่วนย่อยของคู่มือ ซึ่งระยะที่ 1 อบรมครู ระยะที่ 2 ครูนำแผนกิจกรรม ไปแนะแนวนักเรียน และระยะที่ 3 รวบรวม วัดผล สรุปผล

               2.  ผลการพัฒนางานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า ครูมีความรู้สูงกว่าก่อนใช้คู่มือ คิดเป็นร้อยละ 20-25 ก่อนและหลังการใช้คู่มืออบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐาน/ยุทธศาสตร์การแนะแนวทุกด้านอยู่ในระดับดี ครูมีความคิดเห็นต่อคู่มือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อย ลำดับแรก คือ ด้านการศึกษา      

          

(= 4.40) รองลงมา คือ ด้านส่วนตัวและสังคม (= 4.20) และด้านอาชีพ (= 4.13) ตามลำดับ และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมแนะแนว โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก

 

คำสำคัญ : งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

 

Abstract

               The purposes of this research were to study: 1) development of student developing activities applying participation action research at Sahakorn Prachanukoon School under Chumphon Provincial Administrative Organization, and 2) the results of development of student developing activities applying participation action research at Sahakorn Prachanukoon School under Chumphon Provincial Administrative Organization. The research samples, purposively selected, consisted of 2 school administrators, 3 teachers teaching guidance activities, and 46 grade 9 students. The research tools were the questionnaire with reliability, the test, and the handbook for development of student developing activities. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, t-test, and content analysis.

               1.  The development of student developing activities applying participation action research which the personnel involving the performance, both administrators who set policy and teachers who taught guidance activities, had to implement the activities, consisted of the meeting for identification, determination, and selection of programs/ projects/activities according to guidance strategic standard to be used as an element of handbook, for 3 stages namely 1) teacher training, 2) teachers using the activity plan in counseling students, and 3) collection, measurement, and conclusion.

               2.  The results of the development of student developing activities were that the teachers’ knowledge was higher than that existing before using the handbook for 20 - 25%, that the teachers’ knowledge existing before and after using the training handbook was different with statistical significance at the 0.01 level, that every aspect of student developing activities according to guidance strategic standard was at a good level, that the teachers’ opinion toward the guidance activity in handbook for student developing activities was overall at a high level, the average means of the opinion toward educational aspect, personal and social aspect, and career aspect were 4.40, 4.20, and 4.13 respectively, and that students’ opinion toward the guidance activity was overall at a high level.

 

Key words: Student developing activities, Participation action research

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ