แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับครูในยุคศตวรรษที่ 21
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
แนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับครูในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริงตามศักยภาพให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในสังคมยุคโลกาภิวัตน์บนพื้นฐานความหลากหลาย โดยการเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่กับผู้อื่นและการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดระดับสูง มีทักษะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทักษะทางสังคม ตลอดจนมีคุณลักษณะสมรรถนะที่พึงประสงค์ ซึ่งครูผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการบูรณาการสาระรายวิชาสังคมศึกษา ผนวกกับบริบทท้องถิ่นชุมชนที่ผู้เรียนอาศัยอยู่ เพื่อเป็นการสร้างความสำนึกในความหลากหลายทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ตระหนักในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่น และขยายวงกว้างในการยอมรับวัฒนธรรมที่กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้, สังคมศึกษา, การอยู่ร่วมกัน, สังคมพหุวัฒนธรรม
Abstract
Guidelines for enhancing the management of learning of social studies serve as a tool for coexistence in a multicultural society for teachers in the 21st century. The guidelines must focus on enabling students to perform their duty in line with the life in the globalized society based on diversity. This could be achieved by learning to live with others and learning to advance to higher level thinking processes, learning exchange skills, and possessing social skills. Ultimately learners maintain desirableperformance attributes advocated by the teachers as learning goals through various means in the integration of a social studies course material with a local community context where students live. The aim was created a sense of awareness in the diversity of local cultures, recognizing the cultural identity of one-self and others, and an acceptance of the culture in a broader sense. This approach would help the students with the learning process and a person of learning to live together in a multicultural society more effectively.
Keywords: learning management, social studies, coexistence in society, multicultural society, teachers in the 21st century